Basic Bass : Chapter 4 : ขั้นคู่ และ โครงสร้างคอร์ด




หวัดดีครับเป็นไงกัน บ้าง กับ Basic Bass บทที่แล้ว ได้ หาตัวโน๊ต ในสเกล หาคอร์ด ใน คีย์ออกมาได้หมดยังครับ แล้วเข้าใจหรือยังครับ ถ้าไม่เข้าใจ ติดต่อมาได้ครับ ทาง Facebook Email เอ็ม บอร์ดก็ได้ครับ

บทนี้จะขอพูดถึง ขั้นคู่หรือ Interval และพวกคอร์ดต่างๆ ครับ ใครอยากรู้เรื่องคอร์ด โครงสร้างคอร์ดก็ติดตามในบทความนี้ได้นะครับ


Interval หรือขั้นคู่ ก็คือ ที่เค้าชอบ พูด ถึงว่า คู่ 4 คู่ 5 คู่ 8 ไรพวกนี้ครับ มันคือ วิธีการบอกระยะห่างระหว่างตัวโน๊ตตัวนึงกะตัวนึงครับไม่มีไรครับ เริ่มจาก สเกล Major เอา C Major เหมือนเดิมครับ

C D E F G A B C เรียงเลขธรรมดา

C ก็เท่ากับ 1 หรือ Root
D ก็เท่ากับ 2
E ก็เท่ากับ 3
F ก็เท่ากับ 4
G ก็เท่ากับ 5
A ก็เท่ากับ 6
B ก็เท่ากับ 7
C(สูง) ก็เท่ากับ 8

ก็ให้เรียกแบบนี้ง่ายครับC เป็นคู่ 1 ของ C
D เป็นคู่ 2 ของ C
E เป็นคู่ 3 ของ C
F เป็นคู่ 4 ของ C
G เป็นคู่ 5 ของ C
A เป็นคู่ 6 ของ C
B เป็นคู่ 7 ของ CC สูงก็เป็นคู่ 8 ของ C

อันนี้เป็นคู่ตรงนะครับ แต่ ถ้าบอกว่า
คู่ b3 ของ C (อ่านว่า แฟร็ต 3 ของ C) นั่นก็หมายความว่า ก็คือโน๊ต Eb
ถ้า คู่ b5 ของ C นั่นก็คือ Gb
ถ้า คู่ #5 ของ C ก็คือ G#
(เค้าถาม ทาง # ก็ตอบทาง # เค้าถามทาง b ก็ตอบทาง b)
ถ้า คู่ b7 ของ C ก็คือ Bb
ถ้าบอก bb7 (ดับเบิ้ล แฟร็ต 7) ของ C ก็คือ A นั่นเอง
งงไหม๊ ไม่งงนะครับ ไปเรียกให้ลึกต่อไป

C เป็นคู่ 1 ของ C ก็เรียก Root
D เป็นคู่ 2 ของ C ให้เรียก คู่ 2 Major

E เป็นคู่ 3 ของ C ให้เรียก คู่ 3 Major

F เป็นคู่ 4 ของ C ให้เรียก คู่ 4 Perfect

G เป็นคู่ 5 ของ C ให้เรียกคู่ 5 Perfect

A เป็นคู่ 6 ของ C ให้เรียกคู่ 6 Major

B เป็นคู่ 7 ของ C ให้เรียกคู่ 7 Major

C สูงก็เป็นคู่ 8 ของ C ก็ให้เรียกคู่ Octave หรือ 8 Octave


ไม่งงนะครับ ต้องจำแหล่ะครับ แต่ไม่มีอะไรยาก จำ Major Scale ได้ ก็ น่าจะจำได้ครับ จำชื่อของมันแล้วก็ต่อไปก็ต้องจำหน้าตาของคู่นั้นๆ เวลาเล่นบนเบสครับ ตามวีดีโอนี้เลย





Tip! จาก VDO นอกจากฝึกดีดแล้ว สามารถเอาทริ๊กนี้ไปฝึก Ear ฝึกฟังได้ เวลาว่างๆ อยู่บนรถเมล์ รถส่วนตัว หรือรถไฟฟ้า (แล้วแต่ฐานะ 555) ก็หัด พูดออกมาว่า "โด่ เร , โด่ มี , โด่ ฟา , โด่ ซอล , โด่ ลา , โด่ ที , โด่ โด๊" ให้เสียงตรงกะที่ดีดครับ ขอบคุณทริ๊กนี้จาก อาจารย์ อ๊อดครับ

ไปต่อ Interval กัน ตัวโน๊ตมี 12 ตัวใช่ไหม๊ครับ (ไม่ใช่ 7 นะ) บน โครมาติค อ่ะเราจะเอาพวกมันมาเรียกให้ครบครับ ข้างบนเรียกหมดแล้ว 7 ตัว

C เป็นคู่ 1 ของ C ก็เรียก Root

C#หรือDb เป็นคู่ b2 ของ C ก็ให้เรียกว่า คู่ 2 Minor


D เป็นคู่ 2 ของ C ให้เรียก คู่ 2 Major


D#หรือ Eb เป็นคู่ b3 ของ C ให้เรียกคู่ 3 Minor


E เป็นคู่ 3 ของ C ให้เรียก คู่ 3 Major


F เป็นคู่ 4 ของ C ให้เรียก คู่ 4 Perfect


F# หรือ Gb เป็น คู่ #4 หรือ b5 ของ C ให้เรียก คู่ 4 Augmented หรือ คู่ 5 Diminish (5 Diminish ได้ยินบ่อยกว่าครับ)


G เป็นคู่ 5 ของ C ให้เรียกคู่ 5 Perfect


G# หรือ Ab เป็นคู่ #5 หรือ b6 ของ C ให้เรียก คู่ 5 Augmented หรือ คู่ 6 Minor (5 Augmented ได้ยินบ่อยกว่าครับ)


A เป็นคู่ 6 ของ C ให้เรียกคู่ 6 Major


A# หรือ Bb เป็น คู่ b7 ของ C ให้เรียก คู่ 7 Minor


B เป็นคู่ 7 ของ C ให้เรียกคู่ 7 Major


C สูงก็เป็นคู่ 8 ของ C ก็ให้เรียกคู่ Octave หรือ 8 Octave



อย่าลืม! นี่ พูดถึงแค่ใน C major หรือ Key C นะ D major E major ก็ไปหากันเองนะจ๊ะว่าใครคู่ใคร


ดูตามรูปนี้นะครับ

ตามรูป เขียน ตัวโน๊ต 2 ตัวคู่กันนะครับ เรียงตามที่พี่เขียนด้านบนเลยครับ จะอธิบายเพิ่มนะครับ

(ลืมบอกไปในรูปบรรทัด 5 เส้น ข้างบนน่าจะเป็น กุญแจซอล ไม่ใช่กุญแจฟานะ ตัวโน๊ตบนบรรทัดน้อยเป็น Cครับ)
ตัวแรก บนบรรทัดน้อย เหนือคำว่า U ก็เป็น โน้ต C หรือ โด นั่นเอง ตัว U ย่อมาจาก Unison ครับ หมายถึงตัวโน๊ตเดียวกัน
m เล็ก ก็ ไมเนอร์ ครับ
M ใหญ่ก็ Major ครับ
P ก็ Perfect ครับ
TT ย่อมาจาก Tritone ครับ เป็นอีกชื่อนึงของ คู่ b5 ครับ

คำว่า Diminish แปลว่า ลด
คำว่า Augmented แปลว่า เพิ่ม

อันนี้ กุญแจฟา ครับ โน๊ต ตัวแรก เป็น C ครับ โน๊ตวางตรงระหว่าง เส้น 3 กะ 2 ครับ (จำไว้)


ถ้าจะเรียนอ่านโน๊ตต่อไป ก็ต้องไปนั่งเขียนบนบรรทัด 5 เส้นครับ ว่าช่องไหน โน๊ตอะไร ตัวโน๊ตทับเส้นไหนโน๊ตอะไรครับ ต้องนั่งเขียน นั่ง ท่องครับผม

จบการเรียกขั้น คู่ Interval แล้วครับ ต่อไปก็สอนการ พลิกกลับครับ

การพลิกกลับหรือ Inversion ครับก็ คือ วิธีการเรียกกลับกันอ่ะครับ เช่น E เป็นคู่ 3 Major ของ C อ่ะแล้ว C หล่ะ เป็น คู่อะไรของ E เออ
G เป็น คู่ 5 Perfect ของ C อ่ะ ก็แล้ว C หล่ะ มันเป็นคู่อะไรของ G

หลักการง่ายๆดังนี้ครับ เอาไปใช้โลด


เอา 9 ลบครับ
เปลี่ยน Major เป็น Minor เจอ Minor เปลี่ยนเป็น Major แทน
Perfect ไม่ต้องเปลี่ยนอะไร
Diminish เปลี่ยนเป็น Augmented
Augmented เปลี่ยนเป็น Diminish
โอเคทำตามนี้ครับ

ตัวอย่าง

E เป็น คู่ 3 Major ของ C เอา 9 ลบ ได้ 6 เปลี่ยน Major เป็นMinor ได้คำตอบว่า C เป็นคู่ 6 Minor ของ E

G เป็น คู่ 5 Perfect ของ C เอา 9 ลบ ได้ 4 perfect ไม่ต้องเปลี่ยน สรุปว่า C เป็นคู่ 4 Perfect ของ G

Bb เป็น คู่ 7 Minor ของ C เอา 9 ลบ ได้ 2 เปลี่ยน Minor เป็น Major เพราะฉะนั้น C เป็น คู่ 2 Major Bb

G# เป็นคู่ 5 Augmented ของ C เอา 9 ลบ ได้ 4 เปลี่ยน Augmented เป็น Diminish แสดงว่า C เป็นคู่ 4 Diminish ของ G#

หุหุ ง่ายเปล่า ลองทำกันดูนะครับ ลองหากันดูนะ ไม่เขียนให้ดูแล้ว แต่เล่นให้ดูในวีดีโอนี้






ต่อไปจะพูดเรื่องคอร์ด( Chord )แล้วครับ

เริ่มจาก Scale เดิม C major

C D E F G A B C

คอร์ดก็มาจาก สเกลนั่นเอง

คอร์ดคือ โน๊ต 3 ตัว ประกอบกัน จะหาจากไหน แน่นอนครับ เรา ไม่สามารถที่จะ กดคอร์ด ด้วยตัวโน๊ตที่ 1 2 3 เรียงชิดติดกัน พร้อมกัน ได้ (ไปตามห้างลองแอบกดคีย์บอร์ด คีย์ สีขาว ลิ่มติดกัน 3นิ้วสิ) จับคอร์ดบนเบสก็ไม่ได้ มันกัดกัน เสียงมันตีกันครับ ดังนั้น โน๊ต ที่ประกอบกันเป็นคอร์ด ก็ต้องห่างๆ กันหน่อยใช่ไหม๊ครับ ก็ อ่ะ ก็ใช้เป็น 1 3 5 นั่นเอง โครงสร้างพื้นฐาน

จาก สเกลข้างบน หา คอร์ดมาเล่นกันครับ หาจากไหน ก็ไม่ได้ไปหาโน๊ตจากไหน ก็เอามาจาก 7 ตัวนี้นั่นแหล่ะ ไม่ได้ไปหาจากไหน ใช้ สูตร 1 3 5 ให้มันค่อม ๆกัน เสียงก็ไม่ตีกันแล้ว สรุปได้คอร์ดออกมา 7 คอร์ด ดังนี้

Tips คอร์ดที่มีตัวโน๊ต 3 ตัวให้เรียก Triad ไตรแอ็ด

คอร์ดที่ 1
C E G = โด มี ซอล

คอร์ดที่ 2
D F A = เร ฟา ลา

คอร์ดที่ 3
E G B = มี ซอล ที

คอร์ดที่ 4
F A C = ฟา ลา โด

คอร์ดที่ 5
G B D = ซอล ที เร

คอร์ดที่ 6
A C E = ลา โด มี

คอร์ดที่ 7
B D F = ที โด ฟา

ได้ 7 คอร์ด แต่ยังไม่มีชื่อเรียกทำไงดี อ่ะ หา interval ของ พวกมันออกมาก่อน ได้รู้ ระยะห่างของตัวโน๊ต และได้รู้โครงสร้าง เพื่อรู้ว่า 7 คอร์ด ที่ได้มีอะไรที่แตกต่างกัน

คอร์ด ที่ 1 C E G หาขั้นคู่ อ่ะ
E ก็ คู่3 ตรงของ C
G ก็คู่ 5 ตรง ของ C
สรุปเขียน ง่ายๆ ว่า 1-3-5

คอร์ดที่ 2 D F A
F เป็น คู่ b3 ของ D
A เป็น คู่ 5 ตรง ของ D
สรุปง่าย ๆว่า คอร์ด 2 เป็น 1-b3-5

คอร์ดที่ 3 E G B
G เป็น คู่ b3 ของ E
B เป็นคู่ 5ตรงของ E
สรุปว่า คอร์ด 3 เป็น 1-b3-5 โครงสร้างเหมือน คอร์ด ที่2

คอร์ด ที่ 4 F A C
A เป็น คู่ 3 ของ F
C เป็นคู่ 5 ของ F
สรุป คอร์ด 4 เป็น 1-3-5

คอร์ด ที่ 5 G B D
B เป็น คู่ 3 ของ G
D เป็นคู่ 5 ของ G
ได้ คอร์ด 5 เป็น 1-3-5

คอร์ด ที่ 6 A C E
C เป็นคู่ b3 ของ A
E เป็นคู่ 5 ของ A
ได้คอร์ดที่ 6 เป็น 1-b3-5

คอร์ดที่ 7 B D F
D เป็นคู่ b3 ของ B
F เป็นคู่ b5 ของ B
ได้คอร์ดที่ 7 เป็น 1-b3-b5

คอร์ด ที่ 1 มีโครงสร้าง 1-3 -5 ให้ เรียก คอร์ด C (อ่านว่าคอร์ด ซี หรือ คอร์ด ซีเมเจอร์ โดยมากเค้าจะรู้อยู่แล้วว่า ซีเฉย ๆก็คือ ซีเมเจอร์ ใช้สัญลักษณ์ก็คือ C ตัวพิมพ์ใหญ่)
คอร์ดที่ 4 และ คอร์ด ที่ 5 ก็โครงสร้างเหมือนกันกับคอร์ดที่1 ก็ให้เรียกเหมือนกันคือ คอร์ด F และ คอร์ด G

คอร์ดที่ 2 มีโครงสร้าง 1-b3-5 ให้เรียกคอร์ดนี้ว่า Dm (คอร์ด ดีไมเนอร์ เอ็มตัวหลังต้องตัวเล็ก ตัวหน้าต้องตัวใหญ่)
คอร์ดที่ 3 กะ คอร์ด ที่ 6 ก็โครงสร้างเหมือนกัน ก็เรียกเหมือนกัน ได้ เป็น Em กะ Am

คอร์ด ที่ 7 มีโครงสร้าง 1-b3-b5 ให้เรียกคอร์ดนี้ว่า Bdim( อ่านว่าคอร์ด บีดิม หรือ บี ดิมมินิช เขียน dim เป็นตัวเล็กทั้งหมด ตัว B ต้องตัวใหญ่)

ครบแล้วครับได้ เป็น คอร์ด Tri-ad ที่หาออกมาจาก สเกล C major หรือ คีย์ C major คือ

C Dm Em F G Am Bdim

เข้าใจแล้วนะครับว่า การบ้านคราวที่แล้วกะคราวนี้สัมพันธ์กันอย่างไร

ต่อไปเป็น วีดีโอสอนว่า 7 Chord มาจาก สเกลเดียวยังไง ทุกโน๊ตที่ดีด จะอยู่บนสเกลเดียวทั้งหมด ในวีดีโอ เป็น C major


Harmonize C Major Scale


พี่เล่น C Major Scale แบบ ธรรมดา แล้วก็ ขยายออกมาทางแนวนอน
จากแนวนอน พี่ก็ ค่อย ๆ สร้างคอร์ด เริ่ม จาก 2ตัว แล้ว ก็ 3ตัว
พี่เล่น
C-E
D-F
E-G
F-A
G-B
A-C
B-D
C-E

แล้วก็มาเล่น
C-E-G ได้เป็น คอร์ด C
D-F-A ได้เป็นคอร์ด Dm
E-G-B  ได้เป็นคอร์ด Em
F-A-C ได้เป็นคอร์ด F
G-B-D ได้เป็นคอร์ด G
A-C-E ได้เป็นคอร์ด Am
B-D-F ได้เป็นคอร์ด Bdim
C-E-Gได้เป็นคอร์ด C


Cmajor ทัง คอ เบสที่พี่หาคอร์ดออกมาตามวีดีโอครับ ไม่ได้ ไปเล่นโน๊ตอะไรเลย นอกจาก Cmajor Scale โน๊ต 7 ตัวแค่นั้น ลักษณะที่ยึดหลัก โน๊ตบนสเกลเดียว หรือ คีย์เดียวนี้ ให้รู้จักคำว่า Diatonic ไดแอดโทนิค นะครับ ไว้ จะค่อยๆ อธิบายไปเรื่อยๆครับ




หน้าที่ ต่อไป ก็ ต้องทำความเข้าใจว่า เจอคอร์ดนี้ เรียกชื่อว่าอะไร แล้วมีโครงสร้างอย่างไรต้องจำให้ได้นะครับ แล้วนิ้วจะวางยังไง คอร์ดนี้ประกอบด้วยโน๊ตอะไรครับ ยังไม่ต้องจำชื่อตัวโน๊ตก็ได้ครับแต่ต้องจำรูปแบบนิ้วให้ได้ ตามที่พี่สอนขั้นคู่ตามด้านบนอ่ะครับ

สรุป
1.คอร์ดไม่มีหาง ก็ คือ คอร์ด เมเจอร์ โครงสร้าง 1-3-5
2.คอร์ดมีหางเป็น m หรือไมเนอร์ มีโครงสร้าง 1-b3-5
3.dim ก็ ต้อง 1-b3-b5

ประโยชน์ที่พี่สอนนี่ก็คือ จาก 1 Scale เราสามารถหาคอร์ด มาใช้แต่งเพลงได้ คือ สร้างคอร์ดขึ้นมาประกอบสเกล ให้เข้ากันกับสเกลนี้ ได้ เช่น เค้ามีสเกลญี่ปุ่น สเกลอินเดีย มา คราวนี้ก็ใช้วิธีเดิมนี้แหล่ะ หาคอร์ด ขึ้นมาเล่นให้เข้ากะ สเกลที่เค้านำมาเล่น ใครเล่น แจ๊ส ฟิวชั่น คลาสสิค ลองใช้สเกล Melodic Minor,Harmonic Minor มาหาคอร์ดใช้ดูสิครับ ได้คอร์ด แปลกๆ เพียบครับ อาจจะเจอ 1 3 b5 ก็ได้นะ แต่จะเรียกชื่ออะไร ขอเป็นคราวหน้านะครับ จะสรุปโครงสร้างคอร์ดทั้งหมด รวมทั้งคอร์ด 4 ตัวโน๊ตด้วย ครับ คราวนี้ขอแค่นี้ก่อนนะ

Baal

ความคิดเห็น

Unknown กล่าวว่า
อันดีครับ จำเป็นมาก มือเบสทั่วๆไป ไม่ค่อยสนใจ เยี่ยมๆ
Baal Blog&Webmaster กล่าวว่า
หวังว่าคงมีคนเข้าใจในสิ่งที่ผมอธิบายนะ
Phang nga Fire @ rescue กล่าวว่า
ผมเข้าใจครับ

เคยรู้จากพี่มาบ้าง

แต่คราวนี้จะรู้แบบชัดเจน และเข้าใจได้ดีขึ้น

ขอบคุณคุณ บอล ครับ
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
พี่ บอล....อยากให้มี เวลาเปิด คอร์ส สอน เบสมากๆเลยครับ...กำลัง รอเรียน กับพี่ บอลอยู่ครับ
buzu กล่าวว่า
T^T
พอถึงบทนี้จบเลย ห้าๆ สงใสต้องหาคนสอนเเล้ว สมองทึบ
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ที่แรก ผมจะทำความเข้าใจเองกับที่พี่ได้ พูดมา แต่พอมาหลังๆ ขอจำไปเลย ละกัน คับ ฮ่าๆๆๆ
baal กล่าวว่า
มาเรียนไหม๊
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ผมอยากจะหัดเล่นคับ(ไม่เคยเล่นซักที) พอมาดู ไม่รุ้เรื่องเลยคับ

สงสัยเพราะผมไม่เคยเล่นมั้งคับ
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ผมดูไม่เข้าใจเลยคับ