คลังบทความเก่า 1

Diminished Posted by baal , ผู้อ่าน : 27 , 09:49:06 น. หมวดหมู่ : บทความเก่า พิมพ์หน้านี้

Diminished Diminished Diminished ! ! !
Diminished ชื่อนี้พวกคุณคุณคงไม่อยากจะเจอมันเท่าไหร่ใช่ไหมหล่ะครับ คราวนี้ผมจะลองกล่าวถึงมันดูไม่รู้ว่าจะเข้าท่าหรือเปล่า ไปดูกันครับ
Diminished แปลว่า ลดน้อยลง แล้วยังหมายถึงคั่นคู่( interval) ซึ่งถ้าพลิกกลับ (Inversion) แล้วจะได้ Augmented ไงครับ
Xdim เฉยเฉย(มีโน้ตประกอบ 3 ตัว) ที่เห็นใน Diatonic นั้น (Ex C Dm Em F G Am Bdim C) เขาว่ากันว่าไม่ใช่ Dim ที่แท้จริง ที่แท้จริงคือ Dim7 (เขาว่ามา)
Xdim มีโครงสร้างคอร์ด 1-b3-b5 ส่วน Xdim7 มีโครงสร้างคอร์ด 1-b3-b5-6 หรือ ถ้าบ้าทฤษฎีหน่อย ก็ 1- b3 - b5 - bb7
เคยสังเกตไหมครับว่า Chord Diminished 7th 1 คอร์ด จะเท่ากับ 4 คอร์ด นี่ไงครับ
Cdim7 = F#dim7 = Ebdim7 = Adim7
เพราะฉะนั้นในโลกนี้จึงมีโครงสร้างลักษณะของคอร์ด Dim7 แค่ 3 แบบเท่านั้น (เชื่อไหมหล่ะครับ)
Cdim7 = Ebdim7 = F#dim7 = Adim7
Gdim7 = Bbdim7 = C#dim7 = Edim7
Bdim7 = Ddim7 = Fdim7 = G#dim7
ถ้าคุณพบคอร์ดนี้หละคุณควรจะทำอย่างไร ???
มือเบสทุกคนควรจะต้องจำให้ได้ว่าคอร์ด Dim7th แต่หล่ะคอร์ดมีตัวโน้ตโครงสร้างอะไรบ้างเนื่องจากจะต้องเล่นโดยปฏิบัติตามกฎนี้
ไม่ว่าจะเป็น Dim คอร์ดใดก็ตาม ตัวโน๊ตที่เล่นเชื่อมไปคอร์ดต่อไปจะต้องอยู่ในระยะห่างไม่เกินครึ่งเสียง(1 เฟร็ต) ของ root ของคอร์ดต่อไปเท่านั้น นั้นคือไม่สามารถที่จะเล่นโดยใช้กฎ root to root ได้เหมือนกับคอร์ดอื่น ๆ
ตัวอย่างเช่น C - Bbdim7 - C เล่นตัวโน้ต C - Bb - C ไม่ได้ให้เล่น C - C# - C แทน
เจอคอร์ด dim ใช้ Scale Diminished เท่านั้น Scale Dim หน้าตาอย่างนี้ครับ
C Dim Scale = C D Eb F F# G# A B C
ลักษณะสลับกันระหว่าง Whole Step กับ Half Step ( ครึ่งเสียงกับ 1 เสียง) คนส่วนใหญ่จึงเรียกว่า Whole - Half - Whole
webmaster หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเพื่อนเพื่อน จะนำหลักการเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ไปใช้ในการเล่นของตัวเองนะครับ โชคดีสมาชิกสยามเบสทุกท่าน

Basic และ Technique (Bass) Posted by baal , ผู้อ่าน : 50 , 09:22:47 น. หมวดหมู่ : บทความเก่า พิมพ์หน้านี้
มาแล้ว ขออภัยให้รอกันนานครับหวัดดีครับผมมาติดตาม Series For Beginner ของผมกันต่อครับ คราวก่อนพูดถึงมือขวาในการดีดเบสไปแล้ว คราวนี้ขอถึงการใช้มือซ้ายกันบ้างครับ ทั้ง Basic และ Technique ที่พบเจอในเพลงในบ่อยๆ ครับก่อนอื่นสำคัญสุดคือตัดเล็บให้สั้นครับ เริ่มกดเฟร็ตรูปนี้คือตารางโน๊ตบน Fingerboard ของเบสนะครับ อันนี้จะเป็น 4 สาย จะมีสาย เปล่า เป็น โน๊ต E A D G ส่วนใครเล่น 5 กับ 6 ก็จะ มีสายต่ำ B เข้ามา กะ สูง C ครับ โน๊ตที่ปรากฏ เทียบได้กับความรู้ดนตรี ป.4 ดังนี้C = โดD = เรE = มีF = ฟาG = ซอลA = ลาB = ทีคือในโลกนี้จะมีสัญลักษณ์ที่ใช้แทนโน๊ตต่างๆ กันหลายๆ แบบอ่ะครับ เขาไม่นิยม ใช้คำว่า Do Re Me Fa มาแทนตัวโน๊ตอ่ะครับ เขาเลยแทนเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษกัน แต่โปรดอย่าเอาไปรวมกับ คอร์ดที่ปรากฎบนหนังสือเพลงนะ ตัวหนังสือเดียวกันแต่ให้ความหมายที่ต่างกันครับ (โอเค้) อันที่ให้ลิ้งค์ นี้เป็นตารางโน๊ตนะไม่ใช่ตารางคอร์ด ครับบนคอเบสที่เราต้องกดเฟร็ตลงไปเขาเรียกว่า Finger Board และแต่หล่ะช่อง เขา เรียก เฟร็ต มีโน๊ตเรียงกันไป ตั้งแต่ โน๊ต มี (หรือ E) สายบนสุด โน๊ตที่ห่างกัน 1 เฟร็ต เรียกอีกอย่างว่าห่างกันครึ่งเสียง โน๊ตที่ ห่างกัน 2 เฟร็ต เรียกว่าห่างกัน 1 เสียง ยกตัวอย่าง E ห่างกะ F 1 เฟร็ต ก็คือครื่องเสียง F ห่างกะ G 2 เฟร็ต ก็คือ 1เสียงเวลาที่มีเสียงต่ำลงครึ่งเสียงจากโน๊ตเดิม ให้ใส่สัญลักษณ์ b (แฟร็ต) และเวลาที่มีเสียงสูงกว่าโน๊ตเดิมครึ่งเสียงก็ให้ใส่สัญลักษณ์ # อ่านว่าชาร์ป (โอเคป่ะ)และให้สังเกต ว่า E กับ F (มีกะฟา)และ B กับ C (ทีกะโด) จะห่างกัน เฟร็ตเดียว เรียกว่าห่างกัน ครึ่งเสียง จำไว้อีกอย่างว่าโน๊ตเหล่านี้ไม่มีในโลก E# (มีชาร์ปไม่มี) Fb (ฟาเฟร็ตไม่มี) B# (ทีชาร์ปไม่มี) Cb (โดแฟร็ตก็ไม่มี)เช่นกัน อาจมี แต่เป็นในทางทฤษฎีครับ ไม่ได้ใช้พูดกันในชีวิตประจำวันครับ ส่วนใครยังนึกภาพไม่ออกก็ ดูที่คีย์บอร์ดเปียโนก็ได้ครับ คีย์ ขาว คือ โน๊ต โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด ทุกคีย์จะถูกคั่นด้วย คีย์สีดำ พวกนี้จะเป็นโน๊ตแฟร็ตหรือ ชาร์ป ยกเว้น ระหว่าง ที กะ โด และ มีกะฟา จะอยู่ติดกัน เพราะห่างกันแค่ครึ่งเสียงครับ(เข้าใจเปล่า) ดังนั้น โน๊ตบนเบสที่เราสามารถเล่นบน Fingerboard ได้ทั้งหมด ก็มี 12 ตัวโน๊ต คือ C , C#(Db) , D , D#(Eb) , E , F , F#(Gb) , G , G#(Ab) , A , A#(Bb) , B ,Cถ้าดีดเล่นโน๊ตตามนี้ จะได้บันไดเสียง(Scale)ชนิดนึง ชื่อว่า Chromatic (โครมาติค) ห่างกันครึ่งเสียงตลอด ซึ่งไม่ให้ความรู้สึกอะไรเลยครับ ลองดูครับแล้วเปรียบเทียบกับไล่ C, D, E, F, G, A, B C ดูครับ จะให้ความรู้สึกใช่หรือเปล่าครับซึ่ง อันนี้เราได้บันไดเสียง (Scale) ที่ชื่อว่า C Major Scale ครับ โอเคเอาเป็นว่าเรื่อง Scale ผมขอยกยอดไปคราวหลังๆ ครับ ที่เกริ่นมานี่ก็แค่จะบอกว่า ทุก Scale ในโลก จะถูกวางอยู่ Chromatic Scale (เป็น Subsetกัน) อยู่ที่แต่ละ Scale จะวาง โน๊ตอย่างไรครับอธิบายก่อนครับ ว่าไม C# ต้องมี Db D# ต้อง Eb.... เพราะ เรียกได้เหมือนกัน มันคือ โน๊ตัวเดียวกันครับ แต่กฎของ บรรทัด 5 เส้น จะบอกไว้ว่า ถ้า เป็นคีย์ ทาง ชาร์ป โน๊ต ภายใน ก็ควรจะเรียกให้เป็น ชาร์ป คีย์ ทาง แฟร็ต ก็ความเป็นทาง แฟร็ตให้หมดครับ คีย์ทาง ชาร์ป ก็ C G D A E B ....คีย์ทาง แฟร็ต คือ C F Bb Eb Ab Db Gb ....นั่นคือ ง่ายๆ คือ ถ้า เพลงนั้น พูด ถึงชาร์ป ก็ควรจะ ชาร์ปให้หมด แฟร็ต ก็แฟร็ต ให้หมดครับ เพื่อความเป็นระเบียบนั่นเอง อย่างชื่อคอร์ดในหนังสือ ก็เช่นกัน หนังสือเพลงในเมืองไทย ส่วนใหญ่ ก็สเปะสปะนะครับ มีบางสำนักพิมพ์ครับที่มีหลักการนี้เข้ามา แต่คนไทยก็เคยชินไปแล้วครับ เอาเป็นว่าพอรู้ไว้นะครับ จริง ๆ ถ้าเข้าใจทันควันเดี๋ยวนั้นก็ดีครับมาคุยกันเรื่องมือซ้ายครับอ่ะ อย่างที่ยกตัวอย่างการไล่ สเกลไปเมื่อกี้นี้ ให้สังเกตครับ ว่า เวลากดเฟร็ต ผมจะพยายามให้นิ้วอยู่ติดหลังเฟร็ตให้มากที่สุด (ไม่ใช่บนเหล็กเฟร็ตนะครับ) และกดให้สายพาดบนเฟร็ต(เหล็ก)ให้นิ่งๆ อ่ะครับ ผมเคยเห็นน้องคนนึงกด เฟร็ตดีดธรรมดานี่แหล่ะแต่ทำไมเกิด เสียง Buzz (เสียงเคาะเฟร็ต) ทั้งๆ ที่ดีดไม่ได้แรง คือไม่ได้จงใจนะ อ๋อมาดูอีกทีคือ นิ้วเขาแรงกดไม่พออ่ะครับ และน้องคนนี้ก็ไม่ใช้นิ้วก้อยในการเล่นด้วยครับ เอาเป็นว่าฝากไว้ให้ฝึกกันมากๆ ครับ ใช้ ทั้ง 4 นิ้วเลยครับ และพยายามวาง ให้ได้ทั้งช่วง (4 เฟร็ต)ครับ จะได้เล่นได้เต็ม Position ของ สเกลครับ ส่วน นิ้วโป้ง สังเกตว่าผมจะไม่เอาขึ้นมาพาดด้านบน คือ ครับ จะ หลบอยู่ข้างหลังคอ แบบ ลักษณะนี้ โดยจะมีช่องว่างอยู่บ้างระหว่าง ฝ่ามือ และ คอ ของเบส ส่วน เรื่องข้อของ นิ้วแต่ละนิ้ว ก็พยายามให้ โค้งทุกข้อครับ เหมือนกับเรา จับลูกบอล อยู่ ซึ่งจะมีส่วนที่โค้งไปหมดโอเคอันนี้ คือ เบสิคมากๆ ถ้าฝึกให้ดีแต่แรก ก็เยี่ยมเลยครับ ส่วนใครรู้สึกฝืนๆ ก็ค่อย เป็นค่อยไปครับ เอาเป็นว่า เรื่องของรูปแบบของนิ้ว ทางนิ้ว ทั้งที่พูดผ่านมากะที่จะพูดต่อไป ผิดถูกไม่สำคัญเท่ากับ ซาว์นที่ดีที่ออกมาครับ ไม่ซีเรียสครับ เพราะเราฟังเสียงที่ออกมาไม่ได้ดูนิ้วครับ ผม ก็มั่ว ๆ บ้างอ่ะครับมาดู เทคนิคการเล่นที่พบกันเป็นประจำนะครับHammer-on การเล่นแบบ ใช้ นิ้วเคาะลงบนเฟร็ตครับ โน๊ตตัวหลังไม่ได้ดีดนะครับใช้นิ้วมือซ้ายทำให้เกิดเสียงPull-off ก็ลักษณะคล้าย Hammer-on แต่เป็นย้อนกลับแทนหลักสำคัญของทั้ง 2 อย่าง คือ เสียงที่ตามมาควรจะให้มีความดังเท่ากับ โน๊ตตัวแรกที่เราดีดSlide หรือการรูดสายครับทั้ง 3 เทคนิคนี้ใช้ เพิ่มความลื่นไหล อ่อนไหว ไม่ให้การเล่นโน๊ตดูแข็งเกินไป หรือถ้าเทียบกับการร้องก็อาจจะเรียกว่าเอื้อนก็ได้ครับ เกิดสำเนียงได้เหมือนกัน ครับ ลองดูอันนี้ ไล่สเกลเฉยๆ กะ ลองใส่เทคนิคดูอ่ะครับ อ้อลืมไป เทคนิค Vibrato การสั่น การคลึงสายก็สำคัญ ครับ ต้องฝึกเช่นกัน เพื่อความนุ่มนวลของตัวโน๊ตBending ดันสายครับ ถ้าเป็น 2 สาย ล่างก็ดันขึ้น 2 สาย บน ก็แถ ลงมาครับ ต้องการ ครึ่งเสียงหรือ 1 เสียงก็แล้วแต่ครับ อันนี้ต้องใช้หูในการฟังแล้วครับ บางคนดันแล้วเพี้ยนมีนะครับ ให้ระวัง ขึ้นอยู่กะเราจะดัน ครึ่งเสียง หรือ 1 เสียง อันนี้ต้องใช้หูฟังแล้วครับโอเคบทนี้คงฝากไว้แค่นี้ครับ ฝึกกันมากๆ นะครับ เทคนงเทคนิคเอาไว้ทีหลังก็ได้ครับ เอา Basic แน่นๆ ก่อนครับ แล้วค่อยลองเอาเทคนิคมาใช้ในเวลาที่เหมาะสมครับสงวนลิขสิทธิ์โดย สมาชิกสยามเบสครับบทต่อไป คงเป็นเรื่อง Scale กับ Interval , Scale กับ Chord ครับ

เพลงๆ เบสๆ Posted by baal , ผู้อ่าน : 65 , 09:21:20 น. หมวดหมู่ : บทความเก่า พิมพ์หน้านี้
เพลงๆ เบสๆหวัดดีครับคราวนี้มามองภาพรวม หลักการ สิ่งที่ต้องรู้ เกี่ยวกับการเล่น เบส และ ดนตรี วงนะครับคืออยากให้ปรับ ทัศนคติ อ่ะครับ จากที่คุยๆ หลายคนยังเข้าใจว่าที่เราเล่นโน๊ต ดึง ๆ ตามคอร์ดอ่ะ นั่นคือเรา เล่นคอร์ด หรือ ว่าบางคน แกะเพลงแกะถึกๆ แต่ Root ของ คอร์ด แต่โน๊ตที่ได้ยิน แต่ไม่สนใจที่จะฟัง สกุล ของ คอร์ด จาก เสียงกีตาร์ หรือ คีย์บอร์ด นั้น ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดอ่ะครับ อยากให้ลองอ่านบทความนี้ดูครับ เป็นภาพรวมกว้าง ๆ ของ ดนตรี และหน้าที่หลักๆของเบสครับ โดยจะอธิบายให้ เรียบ ง่ายที่สุดนะครับ ส่วนนึง มาจากข้อมูล ประสบการณ์และความคิดเห็นของผมครับ ยังไงผิดพลาดหรือ คิดเห็น แตกต่างกันไงก็ แย้งกันได้ครับเสียงเบส ถ้าเรามอง ภาพของ เพลงๆ นึง ให้เหมือนภาพเขียนหรือภาพถ่าย คือ ภาพ หนึ่งๆ จะมีอะไรๆ หลายๆ อย่างอยู่ในภาพ มีเข้มก็มีสว่าง มีหนัก ก็มีเบาด้วย เกิดความสมดุลในตัวมันเอง เปรียบเทียบกับมิติแห่งเสียง ในวง เสียงกีตาร์ คีย์บอร์ด นำเสียงกลาง และสูงไปแล้ว แต่ มิติเสียงต่ำก็เป็นหน้าที่ของเบสนั่นเอง เพลงๆหนึ่ง ควรจะ มีมิติเสียงที่กว้างๆ ทั้งสูงและต่ำ เปรียบเหมือน วง ออเครสตร้า ที่มีเครื่องดนตรีตั้งแต่ ปิ๊กโกโร่ จนถึง ดับ เบิ้ลเบส ครับ ในเพลงนอกจากมิติเกี่ยวกับเสียงแล้ว จะถูกแบ่งออกเป็นส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้1.Melodic หรือ Melody หรือทำนองเพลง อันนี้สำคัญที่สุดในเพลง (ไม่มี Melody แล้วจะเป็นเพลงได้อย่าง ไร)ในเพลงนอกจาก Melody หลักแล้วยังมี ทำนองของ เสียง Background หรือ Melody ของ Riff และ Groove ต่างๆ Solo ก็เช่นกันครับ2.Harmonic หรือ Harmony หรือ เสียงโน๊ตอื่นๆ ที่สร้างเพิ่มขึ้นมาใหม่ เพื่อประกอบกับ Melody แต่ยัง รักษาความกลมกลืน ไปกับ Melody โดยไม่ขัดกัน คำว่า Harmonic ตัวนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการเล่นเบสแบบ เทคนิค เสียงฮาร์โมนิค เสียง ติ๊งๆ นะครับ แต่หมายถึง ง่ายๆ คือการประสานเสียงนั่นเอง 3.Rhythmic จังหว่ะ มีมากมายหลายจังหว่ะ ซึ่งจะกำหนดลักษณะของเพลงนั้นเช่น เพลงนี้ จังหว่ะ Waltz จัง หว่ะลาติน จังหว่ะ มาร์ช และอื่น ๆอีกมากมายครับ 4/4,3/4,7/8 .... ว่ากันไป ซึ่งสร้างแนวสีสันให้กับเพลงที่แตกต่างกันออกไปทั้ง 3 อย่างประกอบกันขึ้นเป็นเพลง ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างมือกีตาร์ดีดคอร์ดแล้วร้องเพลง เสียงร้อง คือ Melody กีตาร์ตีคอร์ด คือ Harmony (โน๊ตที่ได้จากคอร์ด ไม่ได้มีแต่โน๊ตใน Melody เท่านั้น แต่มีโน๊ตอื่น ๆด้วย ซึ่ง คล้องจองสัมพันธ์กับ Melody) หรือมีเพื่อนร้องประสานโดยตัวโน๊ตไม่ได้ทับกับ Melody อันนี้ก็คือ Harmony เช่นกัน ส่วนการดีดจังหว่ะขึ้นลง แบบต่างๆ ก็คือ Rhythmic ยกอีกตัวอย่าง อย่างเช่น คนเปียโน มือขวาเล่น (Melody) มือซ้ายเล่น คอร์ด (Harmony) ประสานเข้าไปกับ Melody การเคาะขึ้นลงของนิ้วมือก็เกิดจังหว่ะ (Rhythmic) ความสมบูรณ์แบบของเปียโนอีกอย่างคือสามารถ สร้างมิติของเสียงได้กว้างในการเล่นคราวเดียวซึ่งต่างจากเครื่องมืออื่นๆ ถ้าคนเล่นเปียโนเก่งๆ มันก็น่าฟังใช่ ไหมหล่ะครับกลับมายังเรื่องเบสกันหน้าที่ของเบสอย่างอื่นๆ หล่ะ มีอะไรอีก เบส มีหน้าที่อะไรบ้าง ขอยกตัวอย่างไปตามเพลงแล้วกันอย่างเพลงทั่วๆ ไปที่เบสเดินตาม จังหว่ะ กลอง เบสเล่น Root หรือรากของคอร์ด หรือ ตัวแรกของคอร์ด อันนี้เป็นหน้าที่หลักๆ เบสจะทำ หน้าที่ เป็นหัวขบวนของ Harmony หรือคอร์ดนั้นเอง นั่นคือบอกทิศทางของเพลง เปรียบเหมือนกระดูกสันหลังของ เพลงอ่ะครับ และ ก็ประกอบจังหว่ะของกลองไปด้วย ดังนั้นเมื่อคุณมีหน้าที่สำคัญขนาดนี้ใยไม่ให้ความสำคัญตัวของขบวน (โน้ตในคอร์ดตัวอื่น ๆนอกจาก Root) ด้วยหล่ะครับ ซึ่งการแกะเพลง นอกจากแกะ โน๊ตแล้ว ก็ควร แกะฟัง คอร์ดๆ นั้นด้วย เพื่อใช้สร้างไอเดียใหม่ๆ ในการเล่น เรื่องของคอร์ด ขอ ยกยอดไปกล่าวในบทความครั้งหน้าๆ ครับ เอาง่าย ๆว่า นอกจาก Root แล้วยังมีโน๊ตอื่นๆ ให้เล่นอีกครับ เรื่องการเลือกตัวโน๊ตมาใช้ให้เหมาะสมอันนี้ ก็จะค่อยๆ กล่าวกันไปครับหน้าที่อื่นๆ อย่างเพลง This Love ของ Maroon 5 ช่วง เล่น Parts ต้น ๆ เบสไม่ได้เล่นประกอบจังหว่ะครับ แต่เอา Part ของ Melody ส่วนนึง มาเล่นตามกีตาร์ กลองก็เดินไป อันนี้ เบสสร้างสีสันได้ไปอีกแบบ อีกแบบคือเบสเล่นเป็น Riff แบบในเพลง Metal หรือเป็น Groove อย่างในเพลง Fusion จริง พวกลูก ต่างๆ ก็วางอยู่บนคอร์ดทั้งสิ้น ผมจะเปรียบ คอร์ด ที่ วาง ๆ ต่อ ๆกัน ในเพลง เป็นเหมือน เสาของสะพาน ที่ค้ำ Melody เอาไว้ ครับBass solo บางครั้งเบสก็ต้องเป็นพระเอกกะเขาบ้างครับBass เล่น Finger Style อย่าง Jeff Berlin เล่นเพลง Tears In Heaven ในคอนเสริต BX3 อันนี้ เบสเล่นทั้ง คอร์ดและ Melody ไปพร้อม ๆกัน และใครไป Meeting Siambass ครั้งที่ 1 ก็จะเห็น อาจารย์โจ้เล่นนะครับอย่างอื่นๆ ยังนึกไม่ออกตอนนี้ครับ ไว้พบเพลง แล้วจะนำมาฝากไว้ในบทความนี้ครับการสร้างไลน์เบส การเดินเบสในลักษณะต่าง ๆจะขอกล่าวไปเรื่อย ๆ ในคราวต่อๆไปที่กล่าวๆ มาก็เป็นภาพรวมๆ ของวงและเพลง ครับ ต่อไปจะขอพูดถึง คุณภาพของการเล่นที่ออกมา อันนี้ใช้ได้กับทุกเครื่องดนตรี(ตำแหน่ง)ครับ คุณภาพของการเล่นมันจะเกิดขึ้นจากส่วนประกอบดังนี้1 Sound เสียงที่ดี ที่น่าฟัง มีสีสัน เปรียบเทียบกับคนร้อง เสียงดีดีมันก็น่าฟังน่ะครับ2.Pitch ความแม่นยำของตัวโน๊ต การเล่นด้วยตัวโน๊ตที่ถูกต้อง ไม่มั่ว ไม่แป๊ก มีความชัดเจนของตัวโน๊ต สำคัญครับ3.Rhythm จังหว่ะที่ดี หรือ Timing ที่ดี เล่นตรงจังหว่ะ ไม่เหลื่อมล้น ถ้ามือกลอง ตีจังหว่ะที่คงที่ได้ อันนี่คือเยี่ยมใช่หล่ะเปล่าครับ 4.Dynamic ความหนักเบา ของการเล่น มีเน้น มีคลึง อยากให้ฟัง คน สีไวโอลินก็ได้ครับ มันมีหนัก เบา ดูมีเสน่ห์ใช่ไหมครับ เบสก็นำไปใช้ก็ได้ครับ เช่นการ เน้นในจังหว่ะ ที่เหมาะสมครับ Baal....ขอสงวนลิขสิทธิ์ โดย เพื่อนๆ ทุกคนในเว็ปบอร์ดแห่งนี้ครับบทต่อไป จะเกี่ยวกับ Basic ของมือซ้ายครับ



pluck Technique For Bass Posted by baal , ผู้อ่าน : 112 , 14:05:18 น. หมวดหมู่ : บทความเก่า พิมพ์หน้านี้
หวัดดีครับ ผม บอลล์ครับ วันนี้ว่าง ๆ และนึกอะไรดีดีได้ แล้วอยากนำมาฝากน้อง ๆ ที่เพิ่งเริ่มหัดเบสกันนะครับ (เฉพาะ Beginner นะ ถ้าเล่นมานานแล้วอาจจะไม่จำเป็น)ผมรู้สึกว่ามีคนพึ่งเริ่มเล่นเครื่องดนตรีนี้ค่อนข้างมาก จากที่คุย ๆ และยังไม่รู้ทิศทางของตัวเอง หรือทิศทางของการฝึกนะครับ ผมคิดว่าถ้าเพิ่งเริ่มฝึกนี่จะดีมากๆ เลยถ้าทำการฝึกอย่างถูกวิธีอ่ะครับ เหมือน เริ่มหัดวงสวิง หรือ โยน โบลลิ่งอ่ะครับ ถ้าท่าถูกตั้งแต่แรก ต่อไป อะไร ๆก็จะง่ายครับ ก็เลยคิดว่า น่าจะทำ Series For Beginning Bass นี้ ขึ้น ลองติดตามกันดูครับแต่วันนี้จะมาขอนำเสนอ Basic ง่ายๆ ของการใช้มือขวา เพื่อทำการดีดเบสนะครับจะขอแนะนำการวางมือขวา บนสายครับ ภาษาปะกิดเรียก Pluck Techniqueถ้าฝึกให้ชินตั้งแต่แรก ให้เป็นธรรมชาติเลยต่อไป ก็จะเอื้อต่อ โน๊ตเร็ว ๆได้ครับ ลองฝึกกันดูครับการดีดเบสปกติจะวางมือที่บริเวณ ปิ๊คอัพ (ตัวรับเสียง) ตัวที่ใกล้กับเฟร็ตสุดท้ายอ่ะครับ ส่วนตัวที่ใกล้กับสะพานสาย ก็สามารถดีดได้ครับจะให้เสียงอีก Character นึง ลองเล่นดูครับการดีด โดยปกติ แล้ว จะใช้นิ้วโป้งวางบนสายหรือ ปิ๊คอัพ แล้วใช้ นิ้วชี้และนิ้วกลางในการดีดสลับไปมา ส่วนใหญ่จะดีดแบบ ผ่านสายเท่านั้น (แต่ถ้าในการเล่นกีตาร์คลาสสิคจะสามารถดีดแบบเกี่ยวสายได้ครับ) ทีนี่การฝึกจะเป็นแบบนี้ครับ หลักการ คือ ต้องวางนิ้ว โป้ง เหนือ สายที่ เราจะดีด 1 เส้นครับ และนำนิ้วที่ดีดมาพักสายบนสายที่นิ้วโป้งวางอยู่เช่น ถ้าดีด สาย 1 ให้เอานิ้วโป้ง วางบน สาย 2 หลังจากใช้นิ้วชี้หรือ กลาง ดีด ก็นำมาพัก บน สาย 2ดีดสาย 2 ให้เอานิ้วโป้ง วางบน สาย 3 " "ดีด สาย 3 ให้วางนิ้วโป้ง บน สาย4 " "ดีดสาย 4 ให้เอานิ้วโป้ง วางบน ขอบปิ๊คอัพหรือ พาดที่ตัวเบส " " นำมาพักบนนิ้วโป้งตัวเองอยากให้ฝึกแบบนี้จนคล่อง จนชินครับ จนไม่รู้สึก ว่ายากอ่ะครับ ให้เป็นโดยอัตโนมัติอ่ะครับ ต่อไปเล่นโน๊ตเร็วๆ จะง่ายครับTip จุดสำคัญของการเล่น คือทำให้เสียง Clean สะอาด โดย เราเล่นสายไหน ก็ควรให้มันได้ยินแต่สายนั้นเท่านั้น สายอื่นอย่า เจือก !! สายที่ไม่ได้เล่นก็พักสาย (Mute หรืออุดให้หมด) โดยใช้ทั้ง มือ ซ้ายและขวาช่วยกัน การ ดีดแบบที่ผมบอกไปข้างต้น ส่วนหนึงมีการพักสายอยู่แล้ว ซึ่งใช้ควบคุมได้โดยอัตโนมัติ อีก 1 จุดที่สำคัญคือ การดีดให้มีน้ำหนักที่คงที่ในทุกนิ้ว ได้เสียงที่ เสียงดัง พอดีๆ กันตลอด หรือการดีดแบบ Accent เน้นหนัก บางจังหว่ะ อันนี้ก็ควรจะฝึกเช่นกัน Dynamic เป็นสิ่งสำคัญการดีดแบบอื่นๆ 3 นิ้ว แบบ John Myung หรือ Billy Sheehan 3นิ้ว ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อย่าไปเข้าใจว่า 3 นิ้วจะเร็วหรือดีกว่า 2 นิ้วนะครับ อย่าไปคิดอย่างนั้นครับ อันนี้ขึ้นอยู่กับความถนัดส่วนบุคคลนะครับ3 นิ้ว หลักการฝึกไม่ยากครับ คือ บังคับให้ดีดจาก นิ้ว นาง ไป กลาง และไป นิ้วชี้เท่านั้น ได้ทิศทางเดียวครับ การใช้นิ้วโป้ง ดีดบางคนอาจเห็นมือเบสบางคนใช้กัน ใช้ได้ครับ ดีดแบบ ผ่านสายครับBaal....ขอสงวนลิขสิทธิ์ครับบทต่อไป เป็นหลักการ หน้าที่ของเบส ภาพรวมของดนตรีครับ ติดตามกันดูครับ

ความคิดเห็น