Basic Bass : Chapter 1 : เริ่มจับเบส

ขออนุญาตินำบทความเก่ามาลงนะครับ

สวัสดีครับ....ทุกคน ผม Baal (บอลล์) นะ ขอเขียนกันเป็น Series ไปเลยคอยติดตามนะครับ จะรวบรวมทุกอย่างเท่าที่ผมจะมีและหาได้ และคิดว่าเป็นประโยชน์ ต่อการเล่นเบสของคุณ ให้ลองนำไปใช้และ ฝึกฝนกันดูนะครับ ติชมได้เหมือนเดิมครับ ตอนนี้ ขอ เขียน Series สำหรับคนเพิ่งเล่นนะครับ หรือคนเล่นเป็นแล้วจะเอาไปใช้ก็ไม่ว่ากันนะ อยากให้ น้องๆ ที่เพิ่งเริ่มจับเบส ได้ฝึกในสิ่งที่ผมว่ามันจำเป็นอ่ะครับ ลองดูคร้าบ บทนี้เป็นบทแรก ที่ผมจะนำเสนอนะครับ เอาเป็นเรื่อง ทั่วๆ ไป สำหรับ คนพึ่ง หัด จับเบสแล้วกัน เนื้อหาก็จะประกอบด้วย ส่วนประกอบของเบส การเรียกชื่อ การตั้งสาย การวางท่าทาง ฯลฯ ไปชมกันเลย


มารู้จักเบสเบื้องต้นกันดีกว่า





เบสเป็นเครื่องดนตรี แบบ เล่นโดยการดีดนะครับ คล้ายกะกีตาร์ แต่ ลักษณะการเล่น หน้าที่จะแตกต่างจากกีตาร์โดยสิ้นเชิง สายเบสใหญ่ กว่ากีตาร์ ครับ ให้เสียงที่ต่ำกว่า
หน้าที่ของเบส ลำดับ แรก ก็คือ ให้เพลงหรือวงมีเสียงในย่านต่ำอ่ะครับ (55 เขียนทำไมหล่ะเนี่ย) คือ เหมือนรูปภาพอ่ะ ครับ มีทั้ง สีในโทนของร้อนและเย็น เสียงดนตรีในวง ก็ควรจะมีทั้ง สูงและต่ำ นั่นเอง จึงเกิดมิติ (เข้าใจนะ)

มาตรฐานของเบสมี 4 สายครับ เท่ากับ เบสใหญ่ (Double Bass) ในวง ออเครสตร้าอ่ะ อาจเป็นไปได้ที่เบสไฟฟ้าดัดแปลงมาจาก เบสใหญ่นั่นเอง แล้วยังตั้ง เสียง เหมือนกัน ทั้ง 4 สาย พูดถึงเบส 4 สาย เดี๋ยวนี้ ก็เริ่มจะใช้ 5 สาย กันมากขึ้นครับ โดย เพิ่มสายบนสุด ซึ่งให้เสียงต่ำลงไปอีก ส่วน 6 สาย ก็ จะ เพิ่ม สายต่ำและ สูงครับ

ตามมาตรฐานแล้ว การตั้งเสียงจะเป็นเช่นนี้


สาย 1 เสียงโน๊ต ซอล แทนด้วยสัญลักษณ์ G

สาย 2 เสียงโน๊ต เร แทนด้วยสัญลักษณ์

สาย 3 โน๊ต ลา แทนด้วยสัญลักษณ์ A



สาย 4 โน๊ต มี แทนด้วยสัญลักษณ์ E

การตั้งเสียง เบื้องต้น

ตามมาตรฐานแล้วควรตั้งกะ เครื่องตั้งเสียง ซึ่งมีขายตามร้านดนตรีทั่วไป มีทั้งแบบ เข็ม หรือ ดิจิตอล ราคาเครื่องก็ประมาณ 600 บาทขึ้นไป (แนะนำให้เลือกแบบที่ตั้งได้ค่อนข้างละเอียด เพื่อ เผื่อในอนาคตใช้ตั้ง Action ของตัวเบสได้) และแนะนำอีกว่าควรจะตั้งเสียงเบสโดยใช้เครื่องนะครับเพราะ ให้ความสะดวกมากกับการเข้าเล่นในการซ้อมกะเพื่อนหรือขึ้น เวที และ ชัวร์กว่าใช้หูในการฟัง แต่ สำคัญคือเราต้องหัดใช้หูในการฟังไว้ด้วยนะครับ เผื่อเผอิญ สายเพี้ยนกระทันหันได้ฟังออกและแก้ไขสถานการณ์ได้ทันที ต้องฝึกการฟังควบคู่กันไปอ่ะครับ ฝึกใช้หู ก็คือ พยายามตั้งให้ตรงกับที่พี่เล่น ฟังให้ออกครับ ว่ามันตรงกันหรือ ยัง ค่อยๆ ฟังไปเรื่อยๆ ครับ และ สังเกต ถ้า สายเพี้ยนแล้ว เวลาไปเล่น เกิดปรากฎการณ์อะไรบ้าง บางคนไม่รู้ว่าสายตัวเองเพี้ยน เล่นแล้วตีกะคนอื่น อันนี้ สำคัญครับ

วิธีตั้งเสียง มาตรฐานเป็นดังนี้


สมมุติว่าได้เสียงสายเปล่าบนสุดที่ต้องการแล้ว ก็ เล่นเสียงที่เฟร็ต 5 ให้เท่ากะเฟร็ตเปล่าของสายต่อไปครับ
5 fret




Tips ให้ฟังเสียง ดีดีครับ พี่ดีด 2 สายพร้อมกัน ถ้า โน๊ตหรือเสียงตรงกัน เวลาดีดพร้อมกัน จะ ไม่มีเสียงกระพือ หรือ วึง วึง เป็นหลู่บ อ่ะครับ จะตรงเหมือนเป็น คลื่นเดียวกันเลย ถ้าอยู่ในห้องซ้อม จะได้ยิน เสียง ของฉาบ หรือว่าลวดสแนร์ อ่ะ มันสะท้อนมาลองสังเกตสิถ้าไม่ตรง จะวึง ๆๆ

อันนี้ตั้งกะ เปียโนหรือ คีย์บอร์ด
piano
เทียบกะโน๊ตบนกุญแจฟาได้ตามนี้นะครับ
fa clef

คำว่า TAB ย่อมาจาก Tablature เป็น การ แปลโน๊ตออกมาจาก บรรทัด 5 เส้น ตัวเลขคือ เลข เฟร็ตที่กดลงไปบนสาย ตัวเลขวางอยู่บนสาย แต่ สาย เส้นที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เรียงจากบนลงล่าง เลข 0 หมายถึงไม่ต้องกด ครับ ก็คือ สายเปล่า

มาเริ่มบีดลูกบิดกัน

ลองบิดดูครับแล้วจำว่าทางไหน สายตึงขึ้น ทางไหนสายหย่อนลง สายตึงขึ้นจะเสียงแหลมขึ้นครับ ถ้าหย่อน ก็จะต่ำลง ลองปรับกันดูครับ

Tips! พอตั้งเสร็จไปรอบนึงต้อง ตั้งซ้ำสายอื่นอีกนะครับ อีก 2-3 รอบ เพราะ ว่า เมื่อ ตั้งเสร็จทุกสายแล้ว คอของเบสจะงอลงเล็กน้อยทำให้สายหย่อนได้อีก จึงต้องตั้งทวนใหม่อีกครั้งครับ เอาให้เป๊ะเลย
tuner tuner2 tuner3
อันนี้ เครื่องตั้งสายหรือ Tuner โดยทั่วไป จะซื้อแบบที่เรียกว่า Chromatic Tuner คือ สามารถจูนได้ทุกตัวโน๊ต แบบอื่น ๆ ก็จะมีที่ตั้งเครื่องดนตรีอื่นได้ อย่างเช่น กีตาร์โปร่ง ไวโอลิน ได้ เพราะ มี ทั้งไมโครโฟนและ สายแจ๊คเสียบ ตัวเครื่องมีแบบเครื่องเล็กๆ ไว้พกพา หรือ ว่าแบบคล้ายเอ๊ฟเฟ็ค (รูปที่ 3) เป็น ที่เหยียบไว้ บวกเข้ากับชุดเอ๊ฟเฟ็คครับ

ท่าทางในการเล่น การวางตัว วางเบส

bassist sit
สำคัญครับ ควร จะอยู่ในท่าสบายหลังตรง ทำให้ มือซ้ายของเราเคลื่อนไหวไปมาบน คอ ได้อย่างอิสระ และ เนื่องจาก ตัวเบส คอเบส จะยาวกว่ากีตาร์ ทำให้บางทีน้ำหนัก จะเอียงไปทางคอเล็กน้อย ซึ่งไม่เหมือนกับกีตาร์ ซึ่งค่อนข้างจะวางบนตักได้ง่ายกว่า ไม่เป็นไรครับ เราสามารถ ใช้ ข้อศอกขวา กดที่ตัวเบส นิดนึง ให้ คอ เอียงขึ้นด้านบนเล็กน้อย ซึ่ง จะทำให้เราเล่นเบสด้านปลาย ๆ ของคอได้ดีกว่าไม่ปวดข้อมือมาก
การวางท่าทางตามนี้ ใช้เป็นส่วนนึงในการเลือกเบสมาเล่นซักตัวนะครับ พวกที่ คอหนัก ๆ มาก ๆ เอียงลงมุดตลอด ไม่ สมดุล ก็ไม่ควรเลือกมากเล่น ครับ มันทำให้เราใช้แรงจากข้อศอกขวามากจนเกินไป ทำให้เราดีดไม่สะดวกครับ เป็นเบสที่ไม่ดี เวลาเลือกเบสจึงควรคำนึงถึงตรงนี้ด้วยนะครับ


การใช้สายสะพาย

strap bass basss
สายสะพายมีหลายแบบมากครับ ทั้งไนล่อน สายหนัง ผ้า ขึ้นอยู่กะ เงินในกระเป๋านะครับ เลือกแบบที่ทนทานนะครับ มีแบบ แป๊ก กะ ตัวเบสเลย หรือแบบถอดง่าย ๆ แล้วแต่ชอบนะครับ ส่วนตัว ผม ชอบ แบบ หน้ากว้าง ๆอ่ะ ครับ ทำให้เจ็บหัวไหล่น้อยอ่ะครับ เพราะ มีพื้นที่รับแรงค่อนข้างจะมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กะน้ำหนักเบสด้วยครับ การสะพาย ก็ควรจะสะพายสูง นิดนึงครับ ให้ตำแหน่งเหมือนกับเวลาเรานั่งเล่น คือให้อยู่ในระดับเดียวกัน ช่วยให้เรา เล่นได้ถนัดขึ้นด้วยครับ แต่อันนี้ แล้วแต่นะครับ ไม่ได้บังคับ บางคนใช้ ปิ๊คเล่น ก็อาจต้องแขวนต่ำนิดนึง
Tip! อีกอย่างคือ ให้ระวัง หัวเข็มขัด ขูดที่ตัวของ กีตาร์เบสนะครับ

มาดูส่วนประกอบของเบส กัน ชื่อเรียก และ หน้าที่ครับ
bass
bass guitar
1.Tunning ก็คือตัวปรับสาย ตั้งสาย
2.Nut สะพานสาย ด้านบน เฟร็ตที่ 0 หรือสายเปล่า มีหลายชนิดให้เสียงที่ต่างกัน
3.Fingerboards เป็นที่ๆให้เรากดเคลื่อนตัวโน๊ต มีไม้หลายชนิดให้ลักษณะของเสียงที่ต่างกันเช่นกัน
4.Frets เหล็กตามช่อง ความยาวของคอมีหลายขนาด มาตรฐาน ของ เบส 4 สาย จะเป็น Scale 34 หมายถึง จากนัดจนถึง สะพานสายยาว 34 นิ้ว
5.Bridge หรือสะพานสาย มีหลายชนิด ทั้งแบบแยกอิสระ หรือติดกัน วัสดุก็ต่างกัน ใช้ในการตั้ง Action Notation
6.Body หรือตัวเบส ทำจากเนื้อไม้เป็นส่วนใหญ่ มีหลายชนิดให้เสียงต่างๆ กัน ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเลือกซื้อเบส
7.Pickup ตัวรับเสียงเป็นแถบแม่เหล็กไว้แปลสัญญาณการสั่นของสายออกมาเป็นเสียง มีหลายแบบ ให้เสียงที่ต่าง ๆกัน
8.Truss Rod ที่ไขคอ อาจอยู่ด้านหัวหรือปลายก็ได้ ไว้ ไขปรับความโค้งของคอ เป็นน๊อตรูป หกเหลี่ยม

แจ๊ค และ ลำโพง ขยายเสียง
fff
แจ๊คก็เอา ไว้ ต่อ เบสเข้ากับ ตู้แอมป์ครับ แจ๊คที่ใช้กันทั่วไป เรียก แบบ Unbalanced ครับ มี ขีดดำขีดเดียวครับ เมื่อเสียบแจ๊คแล้ว ไม่ควรที่จะหมุน แจ๊คไปมาโดย เด็ดขาด เพราะ จะทำให้ ตัวบัดกรีขาดภายในได้ง่ายครับ
ampeg
ที่ลำโพง เขาเรียกว่า Amplifier หรือภาคขยาย เรียก ง่าย ๆว่า แอมป์นะครับ เป็นตัวจ่ายไฟ มาให้ เบสให้สามารถทำงานได้ แล้วขยายเสียง
โดยทั่วไป จะ มาคู่ กะ ลำโพง แบบนี้เค้าเรียกว่า Combo Amp ครับ แอมป์ กะลำโพงมาด้วยกัน แบ่ง ตามความดัง โดยเรียก เป็น วัตต์ อ่ะ ครับ
แอมป์ เบส ตามบ้านจะ ใช้ 40 -50 วัตต์ขึ้นไป ครับ ส่วนตามห้องซ้อม ก็จะ ประมาณ 100 วัตต์ขึ้นไป แล้วแต่ความต้องการ
gggfff
ส่วน ถ้าแอมป์และลำโพงแยกกัน แบบนี้เค้าจะ เรียกว่า Amplifier กะ Cabinet (ดอกลำโพง) ครับ อันนี้ บางที เค้า อยากที่จะได้ ดอกลำโพงยี่ห้ออื่นอ่ะ ครับ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยน ทำได้ แต่ส่วนใหญ่ คือ ใช้ ตามเวทีต่าง ๆที ซึ่งต้องการความดังด้วยครับ ถ้าเล่นตามบ้าน อาจจะเกินไปนะครับ เพราะ ราคาค่อนข้างแพงกว่า Combo ครับ

มาเริ่มดีดเบสกันเถอะ

ทคนิคมือซ้าย
มือซ้าย และ นิ้วมือ การกดตามช่องของเฟร็ต ควรพยายามกดที่ด้าน หลัง ของ เฟร็ต เอาไว้ โดยให้เสียงที่มั่นคงกว่า ควรฝึกการใช้นิ้วมือให้ได้ ทั้ง 4 นิ้ว นิ้วก้อย จะ เป็นนิ้ว ที่เล็ก และ แรงน้อยที่สุด ต้องฝึกให้มากมากครับ การกด ควรกดให้ สายอยู่ ชิด เหล็ก (เท่าที่จะเป็นไปได้) แรงกดพอที่เวลาดีดทำให้สายอยู่นิ่งกับเฟร็ตมากที่สุด ได้เสียนิ่ง ไม่มีมีการเคาะสาย หรือ ฮ้วนครับ ส่วนนิ้วโป้ง ควรหลบอยู่ข้างหลังของคอครับ จะ ทำให้ เราเคลื่อนไหวนิ้วที่เหลือได้ดีกว่า ไม่ควร จับ คอเบสแบบ กำคอ ครับ อีกอย่างครับ ควรฝึก ให้ ข้อนิ้วทุกนิ้ว งอ เหมือนเราจับลูกบอลครับ แต่สรุปแล้ว จับไงก็ได้ ขอให้เสียงออกมาดีแล้วกันครับ

เทคนิคมือขวา
ส่วนตัวผม ชอบ ที่จะ วาง นิ้ว อยู่ แถว ปิ๊คอัพ ตัวหน้า ครับ ถ้าวางบนตัวหลัง ก็จะให้เสียง กะความรู้สึก ที่ต่างกันจะครับลองดู การดีด สายล่าง ๆนิ้วโป้งจำเป็นต้องตามไปด้วย โดย วาง บนสายเหนือสายที่กำลัง ดีอยู่ เทคนิค นี้ลองฝึกดูนะครับ แต่ เทคนิคต่าง ๆนี่ไม่มีการตายตัวครับ ขอให้เล่นแล้ว ตัวเองถนัดที่สุด กับควบคุมเสียงเบสได้ดี ก็เอาเป็นว่าใช้ได้ครับ อย่าง John Myung (Dream Theater) เล่นเบส 6 สาย แต่วาง นิ้วโป้งไว้บน ปิ๊คอัพ เท่านั้น ไม่เลื่อนตามครับ อืม แต่ ก็สามารถ ควบคุมเบสได้เทพขนาดนั้นอ่ะครับ
ต่อไปนี้ขาดไม่ได้เลยครับ

Metronome

เป็นเครื่องกำหนดจังหว่ะ ให้เราครับ มีหลายแบบมาก ครับ
me mee
ดั้งเดิมจะเป็นแบบเข็มตีไปมาครับ เดี๋ยวนี้จะมีแบบ Digital ติ๊ด ๆ มีไฟกระพริบ ครับ ติดมากะที่ตั้งสายก็มี หรือ ว่า มากะ เอฟเฟ๊ค(เครื่องช่วยแปลงเสียงใช้ต่อก่อนเข้าลำโพง)ครับ ตัวเลขก็คือ ความเร็วของจังหว่ะ (Tempo) ตัวเลขเท่าไหร่ก็หมายความว่ามีกี่จังหว่ะต่อนาทีครับ อย่าง 60 ก็จะเท่ากับความเร็วของนาฬิกานั่นเอง

บางคนใช้ โปรแกรม เป็นเสียงกลองตีตามจังหว่ะต่าง ๆก็โอเคนะครับ ลองหาดูทางอินเตอร์เน็ตครับ
Metronome จำเป็นมาก ๆครับจะช่วยให้เราเป็นนักดนตรีที่รักษาจังหว่ะได้ดี จำเป็นต่อการฝึกมากครับ ไม่ว่าจะฝึกเครื่องดนตรีอะไรก็จำเป็นนะครับ ซื้อไว้เลยครับ

สรุป บทนี้ขอจบเพียงเท่านี้ สามารถติชมได้ครับ บทความอาจอัพเดตได้ตลอดเวลานะครับ


ความคิดเห็น

Dizzy กล่าวว่า
เยี่ยมเลยครับ เหมาะสำหรับ มือใหม่ฝึกที่บ้านแบบผมจริงๆ

ขอบคุณมากครับ
ตะ กล่าวว่า
ขอบคุณมากกครับ
เบิร์ด กล่าวว่า
อ่านแล้วดีจริงๆครับบ
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
กะลังหัดเล่นคับ มีสาระมาก ><
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ขอบคุณนะคะ จะตั้งใจเล่นให้ดีที่สุดเลยคะ ^^
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
เพิ่มเยอะเลยครับ เรื่องความรู้
buzu กล่าวว่า
-..- อย่างนี้ก็ลุยเองได้
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
บทความนี้ ผมชื่นชอมมากๆครับ
สามารถนำมาฝึกได้จริงๆทั้งนั้นเลยครับ
ขอบคุณนะครับ
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ขอบคุณครับ
ฮะ - หมก ยู๊ว วว กล่าวว่า
>..< ขอบคุณค่าา อ่านแล้วเข้าใจง่ายมาก
ตอนนี้กำลังฝึกฟังเสียง ปรับสายไปมา มั่วไปหมด 5 55
ติดตามต่อไป....
The Littlefishz กล่าวว่า
ขอบคุณมากๆเลยค่ะ อ่านแล้วเข้าใจมากเลย
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
เจ๋งไปเลยคับพี่ ^^
ขอเป็นแฟนคลับติดตามด้วยนะคับ