Bass Advance : Chapter 2 : Root 2 Root (Tetra-ad)


หวัดดีครับ เป็นยังไงกันบ้างกับ บทความ Bass Advance บทที่แล้วที่สอน Root to Root กะ 5 th to Root คราวนี้จะกลับมาขยายความ กะ เก็บรายละเอียดกันให้หมดก่อน เข้า สู่ วิธีการเดิน เบส แบบ อื่น ๆนะครับ ยังมีอีกเยอะจริงๆ แต่จะค่อยๆสอนนะครับ (สำหรับ ผู้ที่ร้อนวิชา อยากใช้ Scale กะ Mode เข้ามาสร้างทางเดิน ขอบอกว่าให้อดใจสักนิดครับ ฝึกที่เป็นพื้นฐานก่อน นะครับ เดี๋ยวไป เรื่องอื่นแล้ว จะ เกิดอาการ ยุ่งในสมอง จนจับอะไรไม่ได้เลยครับ)


สรุปจากคราวที่แล้ว

คราวที่แล้ว พี่ สอน Root to Root หมายความว่า ถ้า เกิด เรา แบ่ง จังหว่ะ ใน หนึ่งห้อง เป็น 4 จังหว่ะ 4 ตัวโน๊ต โน๊ตตัวสุดท้ายของ ห้อง พี่ เลือกให้แล้ว ก็คือ Root ของคอร์ดในห้องนั้น กระโดดเข้าสู่ Root ของ ห้อง ในคอร์ดต่อไป (แต่อย่าเล่นห่างกันเกิน 1 Octave) Root ก็คือ โน๊ตหัวคอร์ดนะครับ แล้วก็มาสอนว่า ในห้อง (โน๊ตที่เหลือ) เราจะเลือกใช้ตัวโน๊ตอะไรได้บ้าง (โอเคป่ะ)





อธิบายเพิ่มขึ้นอีกนิด ถ้าเกิดไป เจอ Time Signature แปลกๆ เช่น 3/4 , 5/8 , 6/8 ก็ไม่ต้องงง จังหว่ะสุดท้ายคือ Root ไปสู่ Root ตัวโน๊ตในห้องก็เลือกเหมือนเดิม แค่ในห้องมีตัวโน๊ตมากขึ้นหรือน้อยลงเท่านั้น


อีกนิด โน๊ตในห้อง ที่สอน เป็น โน๊ตตัวดำ โท่งๆ หมายถึง เบสิค ๆของ แจ๊ส Walk In 4 จะเดิน แบบนี้ แต่เวลาเอาไปใช้ในจังหว่ะอื่น แนวอื่นๆ ป๊อบ ร๊อค ลาตง ลาติน ก็ต้องเปลี่ยนจังหว่ะ กระตุกไปตาม จังหว่ะนั้นๆ ที่คุณเล่นเอง จะมาเล่นโน๊ตตัวดำโท่งๆ ก็ไม่ได้ใช่ไหม๊ แล้วก็จะมาใส่กันแหลกในบางแนวบางท่อนก็ไม่ได้มันก็จะดูรกหู ที่สอนไปคือพี่แค่สอนหลักการและวิธีการเลือกใช้ตัวโน๊ตมาเล่น เพราะมันเป็นหลักการเดียวกันหลักการสร้าง Line เหมือนกัน แต่ ก็จะ มีแบบ ว่า เพลง แนว นี้ เค้าไม่ค่อยที่จะใช้ โน๊ต นี้ เพลงแนวนี้ เค้า ชอบ โน๊ตนี้ อันนี้อยู่ที่หู กะ ฟังเพลง แนวนั้นเยอะๆ แกะเยอะๆ แล้วก็ลองเล่น ว่าชอบแบบไหน สไตล์ไหน ปรับกันได้ครับ (โอเคนะครับ) สรุปว่า หูต้อง มาก่อน ทฤษฎี ทฤษฎี ถึงจะถูก เป๊ะ แต่เล่นแล้วไม่เพราะก็มีครับ

พี่จะสรุป สูตร (เรียกเป็นคณิตศาสตร์ซะงั้น) ทางเดินเบสคราวที่แล้วนะ และเขียนแค่ภายในห้องเดียวเท่านั้น และเขียนแต่โครงสร้างเท่านั้นครับ แล้วถ้าไปเจอ คอร์ด minor ก็ แฟร็ต 3 กันเอง เจอ dim ก็ แฟร็ต 5 แฟร็ต 3 กันเอง เจอ Aug ก็ ชาร์ป 5 กันเองนะ เจอ sus ก็ เปลี่ยน 3 เป็น 4 โดยอัตโนมัติ เองล่ะกัน


เริ่มที่ Tri-ad (คอร์ดที่มีโน๊ต 3 ตัว) ลองฟังพี่เล่น Sample คอร์ดครับ พี่จะเล่น ทางคอร์ดใน Key C ง่ายๆ ก่อนนะครับ
เลือกใช้ทางคอร์ดพื้นฐานเพลงทั่วไป C Am Dm G (วัน-ซิก-ทู-ไฟท์-วัน)

คอร์ด C หรือ ซีเมเจอร์ พวกคอร์ดประเภทนี้มีโครงสร้าง เป็น 1 3 5 ได้ โน๊ต โด(C) มี(E) และ ซอล(G)
คอร์ด Am หรือ เอไมเนอร์ พวกคอร์ดประเภทไมเนอร์ มีโครงสร้าง 1 b3 5 ได้โน๊ตทั้งหมด คือ ลา(A) โด(C) และ มี(E)
คอร์ด Dm หรือ ดีไมเนอร์ "------------------------------------------" คือ เร(D) ฟา(F) และ ลา(A)
คอร์ด G ก็มี โครงสร้าง 1 3 5 ได้โน๊ต ซอล(G) ที(B) และ เร(D)

เบรค! ยังไม่ต้องปวดหัวเกี่ยวกับการจำตัวโน๊ตของคอร์ด ครับ ยังไม่ต้องจำครับ แค่ขอให้เรารู้โครงสร้างของคอร์ดนั้นๆ แล้วรู้ทางนิ้ว เราก็เล่นไม่ผิดคอร์ดแล้ว รู้ว่าคอร์ดแบบนี้ มีหลุมให้เราหลบตรงไหนได้บ้างอ่ะครับ เรื่อง คอร์ด และขั้น คู่ จะสอน ใน บท Basic Bass ที่ 4 ครับ ตามอ่านกันเองนะ ไปฟัง เสียงคอร์ดกันเลย





เขียนเป็นสูตรนะครับ

1 1 1 1




1 1 3 1



1 1 5 1



1 3 1 1



1 5 1 1



1 3 3 1



1 5 5 1



1 3 5 1



1 5 3 1








กี่อันแล้วว่ะเนี่ย (ขนาดแค่ tri- ad นะ) ฝึกให้หมด สับขาหลอกเยอะๆแล้วจะรุ่ง เหมือน โรนัลโด้ เมสซี่ (เฮ้ยตกรอบนี่หว่า)


Trick ! สูตรด้านบนสามารถโดนทำให้ ซับซ้อนเข้าไปอีก ด้วย การ พลิกกลับ (3 สูงเปลี่ยนเป็น3ต่ำ) (5 สูงเปลี่ยนเป็น5ต่ำ) เล่นให้ดูในวีดีโอแล้ว หรือ เปลี่ยน 1 เป็น 8 ก็ได้ (คู่ 8) แต่แนะนำว่าฝึกทีหล่ะ Pattern ไม่งั้น งงครับ จะ จับอะไรไม่ได้เลยครับ







คำเตือน! อย่าพยายาม เดินโน๊ตให้ห่างกันมากกว่า 1 Octave หรือ 1 คู่8 หรือ 12 เฟร็ต สงสารคนฟัง เสียงมันกระโดดมากครับ
ยกเว้นเฉพาะ เพลง Funk ครับ (กระตุกกันจริงกระตุกกันจัง) พอได้ (แต่ส่วนใหญ่เป็นโน๊ตสั้นๆ)
แล้วอย่าเพิ่งเอาไปรวมกฎนี้ ไปกับการ solo นะ ไม่เกี่ยวกัน แล้วก็ พวกเล่น bass pattern แบบในเพลง ดิสโก้ด้วยนะครับ ยังไม่ขอพูดถึง อย่าเพิ่งงงนะ


อย่าลืม! พวก Triad ที่ต้องฝึกก็ยังมี คอร์ด Dim,คอร์ด Aug,คอร์ด Sus4 อีกนะครับ
Dim มี โครงสร้าง 1-b3-b5
Aug ก็ 1-3-#5
Sus4 1-4-5
Tips คอร์ด Asus4 กะ Amsus4 คือ คอร์ดเดียวกันนะครับ คือ มีโครงสร้าง 1-4-5 เหมือนกัน แต่ Asus2 ไม่มีในโลกนะครับมีแต่ในหนังสือเพลงของเมืองไทยครับ อิอิ (ขออภัยนะครับก็มันผิดจริงๆ นะ Asus2 เท่ากับ มีสูตร 1 2 5 คอร์ดนี้เล่นไม่ได้อ่ะ เล่นได้ แต่ 1 3 5 9 เอ้อ เข้าท่ากว่าป่ะ และมันคือคอร์ด Aadd9 ต่างหาก เรียกแบบนี้ เล่นแบบนี้ถึงจะถูกนะคร้าบ)



Tetra-ad (คอร์ดที่มีโน๊ต 4 ตัว) เช่น พวกmaj7,พวกm7,พวก7,พวกDim7,พวกAug7 ฯลฯ ก็ ตามนี้ เอา ข้างบนมาเล่นก็ได้ นะ เพราะ Tri-ad เป็นส่วนนึงของ Tetra-ad อยู่แล้ว ต่อไปจะให้ฟังเสียงคอร์ด ก่อนครับ

Tetra-ad (คอร์ดที่มีโน๊ต 4 ตัว)เหมือนเดิมพี่จะเล่น ทางคอร์ดใน Key C
มีคอร์ด Cmaj7 Am7 Dm7 G7

คอร์ด Cmaj7 หรือ ซีเมเจอร์เซเว่น พวกคอร์ดประเภท เมเจอร์เซเว่นนี้มีโครงสร้าง เป็น 1 3 5 7 ได้ โน๊ต โด(C) มี(E) ซอล(G)และ ที(B)
คอร์ด Am7 หรือ เอไมเนอร์เซเว่น พวกคอร์ดประเภทไมเนอร์เซเว่น มีโครงสร้าง 1 b3 5 b7 ได้โน๊ตทั้งหมด คือ ลา(A) โด(C) มี(E) และ ซอล(G)
คอร์ด Dm7 หรือ ดีไมเนอร์เซเว่น "------------------------------------------" คือ เร(D) ฟา(F) ลา(A)และ โด(C)
คอร์ด G7 หรือ จีเซเว่น ชื่อเต็ม จีโดมิแน้นท์เซเว่น ก็มี โครงสร้าง 1 3 5 b7 ได้โน๊ต ซอล(G) ที(B) เร(D) และ ฟา(F)

เหมือนเดิมอย่าเพิ่งจำโน๊ต หรือ งง ไมมันต้องเป็นแบบนี้ว่ะ รอดู ใน Bass Basic บทที่ 4 ครับ เล่นและจำทางนิ้วไปก่อน

ไปฟังคอร์ดก่อน

Cmaj7 Am7 Dm7 G7


จะเดินเบสแล้วครับสูตรที่เพิ่มเข้ามา



1 1 7 1
1 7 1 1


1 7 7 1



1 3 7 1



1 5 7 1



1 7 3 1



1 7 5 1







จะได้ ลูกนิ้ว มากมายเลยครับ ซาวด์ก็แตกต่างกัน ออกมาบานเลยครับ


อย่าลืม คอร์ด 7 หรือ Dominant 7th ก็ต้อง แฟร็ต 7 กันเองนะ maj7 ก็ 7 ตรง เปลี่ยน ทางกันเอง อย่าหลงครับ เพราะ พี่เขียนข้างบนเพื่อให้ อธิบายแบบรวมๆ ง่ายๆ




ลองพลิกกลับดู ได้อีกแนว










คำเตือน!! พลิกกลับแล้วระวัง เกิน 1 Octave นะครับ จะผิด เช่นลองเล่น สูตร 1 8 7(ต่ำ) 1 หรือ 1 7(ต่ำ) 8 1
มือพันกันด้วยครับไม่น่าเล่นครับ
Get Idea ยัง! เกิด ไอเดียกันบ้างเปล่าครับ ใคร คิด สูตรได้อีกก็เล่นกันเองนะครับ แล้วยิ่ง เพลง ให้ มีตัวโน๊ตใน 1 ห้อง มากๆ มากกว่า 4 ตัวก็จะสลับโน๊ตได้เยอะมากเลยครับ ได้อีก หลายสูตรหลายวิธีเลย ก็ลองหัดเรียงตัวโน๊ตให้เป็นหลักการข้างต้นนะครับ จะออกมาสละสลวยครับ

สรุปรวบยอด
โครงสร้างที่อยู่ตรงกลาง (พวก เลข 1 3 5 7) นี่ก็คือโน๊ตในคอร์ดนั่นเอง บางคนเรียก Arpreggio บางคนเรียกว่า Chord tone ก็ได้ครับ

ตัวโน๊ตในคอร์ด หรือ Chord tone จะเล่นยาวขนาดไหน หรือ ซ้ำ ก็ไม่ผิด อย่างที่เห็นที่พี่ให้เล่น 1 3 3 1 , 1 5 5 1 , 1 7 7 1, ครับ เล่นซ้ำมันดื้อๆนี่แหล่ะ มันจะผิดได้ไง ก็เอาโน๊ตในคอร์ด มาเล่นอ่ะ คนกีตาร์ มันก็จับคอร์ดดีดให้โท่งๆ คีย์บอร์ด ก็กดยาวมาเลย เล่นได้ครับ และอันนี้ คือพี่กะลังจะอธิบาย ธรรมชาติของ Melody หรือท่วงทำนองนะครับ การสร้างไลน์เบสก็เป็นลักษณะเดียวกัน วิธีการดึงโน๊ตตัวใหม่ๆมาเล่น ง่าย ที่สุด ขั้นแรกก็ คือเอามาจากคอร์ดนั่นเอง ถ้าเรารู้ว่า คอร์ดนี้ มี โน๊ตในคอร์ดอะไรบ้าง วางนิ้วยังไง ก็ สบายละ สำคัญนะครับ ต้องฝึกนะครับ เป็นเสาหลัก ต่อการสร้าง line เบสลักษณะอื่นๆ ต่อไป และเป็นพื้นฐานต่อการ solo ในอนาคตด้วย ครับ เคยได้ยินรุ่นน้องไป เรียน solo กีตาร์กะอาจารย์กอล์ฟทีโบนก็เนี่ยแหล่ะ นั่งดีด Chord tone กะ Metronome ทั้งวันครับ สำคัญมากๆครับ

และสรุปก็คือ ที่พี่ พร่ามเขียนสูตรการเดินออกมาทั้งหมดออกมาเยอะแยะนี่ ก็เป็น ตามสูตรนี้สูตรเดียว คือ (แล้วแตกออกมา)

1-CT-CT-1

CT ย่อมาจาก Chordtone อ่านว่าคอร์ดโทน หรือโน๊ตในคอร์ด

ก็คือ สูตร

1 - คอร์ดโทน - คอร์ดโทน -1

นั่นเอง


เข้าใจนะคร้าบ


ส่วน 5th to root ที่ให้ไปคราวก่อน ต้องไป นั่ง นึกกันเองนะครับ 5th to root จะใช้ได้เฉพาะ เพลง ป๊อบกะ ร๊อคอ่ะครับ เลยไม่ขออธิบายแล้วกันครับ แต่เขียนแล้ว ก็ฝึกกันได้ครับ ได้ใช้เยอะนะ

เขียน ได้เป็น

1 - CT - CT - คู่5th(ของคอร์ดหน้า)

น่าจะสรุปสวยแล้วนะ ไม่เข้าใจต้องกลับไปอ่านใหม่ช้า ๆนะครับ

มีคอร์ดให้ฟังกันนะครับ ชัดๆ
http://www.jamstudio.com/Studio/FWSongShare.asp?SongNum=711940&SongId=712130
http://www.jamstudio.com/Studio/FWSongShare.asp?SongNum=711943&SongId=712136
กด play เลยนะครับ ฟังเป็นคอร์ดๆ ก็ได้ หรือ สร้างคอร์ดเองก็ได้นะครับ

เจอกันคราวหน้านะ ฝึกกันให้เยอะๆครับ ฝึกในทางเดินคอร์ดใหม่ๆ คีย์ใหม่ๆ จังหว่ะใหม่ๆและความเร็วที่แตกต่าง

โชคดีครับพี่
Baal

ความคิดเห็น

Surawat Taptong กล่าวว่า
http://music-cheapbass-basscheap.blogspot.com
ฝากบล๊อกด้วยคนนะครับ
Baal Blog&Webmaster กล่าวว่า
ยินดีครับ