Basic Bass : Chapter 6 : Rhythm

สวัสดีครับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ช่วงนี้มีแต่ข่าวไม่ค่อยดี น้ำท่วมบ้างอะไรบ้างยังไง ถ้าใครเดือดร้อน ได้รับผลกระทบ ก็ขอให้สู้ๆ นะครับ เราทุกคนเป็นกำลังใจครับ ใครไม่เดือดร้อนพอมีกำลังก็ช่วยเหลือเยียวยากันนะครับ ทางไหนก็ได้ครับ คนไทยด้วยกันครับ  พี่ก็เหมือนเดิมครับ เอา วิธีการเล่นเบส มานำเสนอแบบฟรีๆ ครับ อธิบายกันแบบกระจ่างๆ เท่าที่ คอมพิวเตอร์เครื่องนี้จะถ่ายทอดออกไปได้ กับสมองอันน้อยนิดที่จะสร้างสรรค์ลงไป หวังว่าคงทำให้ทุกคนได้ประโยชน์ สนุกกะการเล่นเบส เพลินกับจินตนาการของตัวเองนะครับไปและ ลุยกะบทความนี้กัน

เค้าว่ากันว่า นักดนตรี ทุกคนทุกเครื่องดนตรี รวมไปจนถึงนักร้อง ที่จะถือได้ว่ามีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ คือต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ประการ ดังนี้

1.Pitch การเล่นตัวโน๊ตที่แม่นยำ ถูกต้อง ได้เสียงที่มีคุณภาพ ไม่ผิดไม่เพี้ยน (สำคัญลำดับที่1)
2.Timing (Rhythmic) การเล่นตัวโน๊ต ที่ถูกต้องตามจังหว่ะ จังหว่ะดี ไม่เป๋ เพลงจะเร็วจะช้า ก็ควบคุมได้ดี (สำคัญมาก) Groove มาแบบไหนก็อุดหมด
3.Dynamic การเล่นตัวโน๊ต ดัง ค่อย เป็นธรรมชาติ มีการเน้น การค่อย เงียบ ที่เหมาะสม (มีฟิวที่ดี) (สำคัญสุดๆ)
4.(ขอเพิ่มเองนะครับ) รู้กาละเทศะ ในการเล่นวง อย่างเช่น กีตาร์โซโล่อยู่ หรือ ช่วงนี้ คนเขียนเพลงเค้าเน้นให้คนอื่นเล่น แต่เราดันเล่นสอดแทรก ขึ้นมาเบียด จนเพลงมันดูรก หรือว่าเค้าบังคับให้เบส เดินเบสแบบยืนเป็นแบ็คกราวด์ แต่เราดันเสนอหน้าออกมา อันนี้ถือว่า ไม่มีมารยาท ครับ สรุปคือควรรู้หน้าที่ในแต่หล่ะท่อนเพลง ช่วงไหนที่ควรเล่น ควรส่ง ควรหยุด ควรนิ่ง ควรเล่นคลุม ควรโซโล่ ความเล่นเพิ่ม ควรลด สิ่งเหล่านี้ถ้าทำถ้าเล่นได้ในแบบที่เหมาะสมแล้ว ก็ถือว่าเป็นมืออาชีพ (โปร) จริงๆครับ

เกริ่นเฉยๆ นะครับ จริงๆ จะเข้าเรื่อง Rhythmic โดยบทนี้ จะลองยกตัวอย่างการเล่นกับจังหว่ะกลอง ในหลายๆ จังหว่ะ ที่เราจะเจอกะเพลง เพื่อให้เข้าใจถึง หน้าที่ ของ เบส
เบสไม่ใช่ตัวคุมจังหว่ะนะ ครับ แต่ประกอบจังหว่ะได้ คนกลองก็อยากได้มือเบสที่รู้ใจ (รู้จักที่จะเล่น รู้จักที่จะตาม) มือเบสก็อยากได้ที่ คนกลองที่ตีกระชับ ควบคุมจังหว่ะได้ดี ตีมีระเบียบ ไดนามิคดี ไปด้วยกันได้ ครับ 2 คนนี้เป็นพื้นฐานอันแข็งแกร่งให้กับวงให้กับเพลงครับ ถ้า คนใดคนนึงเป๋ ก็เละครับ กีตาร์โซโล่ดีไงก็จบครับ เผลอๆ จะพาลให้ กีตาร์ คีย์บอร์ด เป๋ไปด้วย

อ้อมีอีกเรื่องที่จะบอก

เพลงแต่หล่ะเพลง มีส่วนสำคัญ 3 ส่วนเช่นกัน

1.Melody หรือ ทำนอง โน๊ตขึ้นลง
2.Harmony คือ เสียงประสาน หรือคอร์ด ผมจะเรียกว่า เพิ่มความอ้วนให้กับเพลง เพิ่ม มิติ ให้เสียงมันกว้างขึ้น
3.Rhythmic ทุกเพลง ก็ต้องมีจังหว่ะ ครับ เร็ว ค่อย กระตุก ราบเรียบ

Melody สำคัญที่สุดในเพลงครับ บางทีมี melody อย่างเดียวก็เป็นเพลงได้ครับ เช่น คนร้องเพลงคนเดียวครับ

ผมจะชอบยกตัวอย่างอันนี้ครับ ความสมบูรณ์แบบของ นักเปียโน เวลาที่เราฟังนักเปียโนเล่นแค่คนเดียว แต่ทำไมมันซึ้งจัง มันมีพลัง อาจเป็นเพราะ ความครบถ้วน ของส่วนประกอบเพลงที่ออกมา Melody อยู่ที่มือขวาหรือเสียงที่เค้าร้อง Harmony ก็อยู่ที่มือซ้ายกดคอร์ด จังหว่ะเกิดจากการดีดขึ้นลง และทั้ง 2 มือ สามารถเล่นให้เพลงประกอบไปด้วยเสียงสูง (มือขวา)และ เสียงต่ำ(มือซ้าย) ได้พร้อมๆกัน เกิด ซาวด์เสียงประสานมากๆ เพิ่มมิติให้กับเพลงครับ วันนี้ โม้ แค่นี้ก่อนนะครับ ไปเริ่ม บทเรียนกันครับ

ขอพูดถึงโน๊ตก่อนนะครับ เผื่อใครลืมครับ ดูตามรูปนี้กันครับ

Whole Note หรือ ตัวกลม
Half Note หรือ ตัวขาว
Quarter Note หรือ ตัวดำ
Eighth Note หรือ ตัวเขบ็ต 1 ชั้น
Sixteenth Note หรือ ตัวเขบ็ต 2 ชั้น

ถ้าแบ่งให้ 1 ห้อง ดนตรี มี 4 จังหว่ะ
จะใส่ ตัวกลม ได้แค่ ตัวเดียว
ตัวขาว ได้แค่ 2 ตัว
ตัว ดำ ได้แค่ 4 ตัว(มันเลยชื่อว่าQuarter)
ตัวเขบ็ต 1 ชั้น ได้แค่ 8 ตัว (มันเลยชื่อว่า Eighth Note)
ตัวเขบ็ต 2 ชั้น ได้ 16 ตัว มันเลยชื่อว่า Sixteenth Note)

คิดกลับกัน เขบ็ต 2 ชั้น 16 ตัว ก็มีความยาวจังหว่ะเท่ากะ เขบ็ต 1 ชั้น 8 ตัว
เขบ็ต 1 ชั้น 8 ตัว ก็มีความยาวจังหว่ะ เท่ากะ ตัว ดำ 4 ตัว
ตัวดำ 4 ตัว ก็มี ความยาว จังหว่ะ เท่ากับ ตัว ขาว 2 ตัว
ตัวขาว 2 ตัว ก็มี ความมีความยาวจังหว่ะ เท่ากับ ตัวกลม 1 ตัว นั่นเอง



ให้จำหน้าตาตัวหยุด(Rest ด้วยนะครับ)มันมีค่าความยาวจังหว่ะเท่ากับตัวข้างๆ แต่เป็นการหยุดเสียง

โอเคนะ ถ้า ให้ใน 1 ห้อง มี 4 จังหว่ะ นั่นหมายความว่า เขียน ทั้ง โน๊ต ทั้ง หยุด อ่ะ วมกันแล้วได้ไม่เกิน ค่า ตัว กลม 1 ตัว ห้ามเขียนเกิน

โอเคเข้าใจนะครับ แล้วก็บอกต่อ ว่า คำว่า ถ้าให้ ใน 1 ห้อง มี 4 จังหว่ะ ให้ แทนสัญลักษณ์ ด้วย ตัว C ใหญ่  หรือ 4/4 (เหมือนด้านซ้าย) จะเขียนกำกับไว้บนบรรทัด ห้าเส้นตรงหัวเพลงครับ สัญลักษณ์ นี้เรียกว่า Time Signature เป็นการบอกค่าความยาวจังหว่ะใน1ห้อง 4/4 ก็หมายถึง ให้มี โน๊ตตัวดำได้ 4 ตัวใน 1 ห้อง
4 ตัวล่างบอกชนิดตัวโน๊ต
4 ตัวบน บอกจำนวน
ตัวดำก็คือ quarter note (มันแปลว่า 4 ไงครับ)
งั้น ถ้า 6/8 ก็คือ ให้ มี เขบ็ต 1 ชั้น (Eigthnote) บรรจุอยู่ใน 1 ห้อง ได้แค่ 6 ตัว ถ้า 3/4 คือ อนุญาต ให้ มี ตัวดำ ได้แค่ 3 ตัวนะ ใน 1 ห้อง อย่าเขียนเกิน จังหว่ะ

หวังว่าคงไม่งง นะครับ เอ้า มีค่าความยาวตัวโน๊ต มี 1(ตัวกลม) มี 2(ตัวขาว) มี 4(ตัวดำ) มี 8(เขบ็ต 1 ชั้น) มี 16(เขบ็ต 2 ชั้น)
แล้ว ถ้าเกิดอยากมีแบบก้ำกึ่งบ้าง เช่น 3 หรือ 6 บ้างหล่ะ จะเขียนอย่างไร คงเคยได้ยินคำว่า 3 พยางค์นะครับ หรือ Tripet (ทริปเป็ต) ก็คือการแยกย่อย ความยาวตัวโน๊ต ลงไป อีก


จากตัวอย่าง #1 Timesignature 4/4 ห้องแรก ตัวดำ 4 ตัว ห้อง 2 เขียน ตัวเขบ็ต มี 12 ตัว ทั้งๆ ที่ ต้องเขียนให้ได้ 16 ตัว แต่ เค้า เขียนเป็น โน๊ต 3 พยางค์นั่นเอง (คือแยกย่อยจังหว่ะอ่ะครับ ระหว่างกลางระหว่าง เขบ็ต 1 ชั้น และ 2 ชั้น)

ตัวอย่างที่ #2 ห้อง ที่ 2 เป็น 3 พยางค์ ครับ ปกติ เขียน ตัวดำได้แค่ 4 ตัวใน 1 ห้อง แต่ อันนี้ คือเล่นให้เร็วขึ้นอีกนิดได้เป็น 6 ตัวใน 1 ห้อง

ไม่เป็นไรนะครับ เรื่องโน๊ต ไว้ค่อยว่ากันทีหลัง ก็ได้ครับ ลองอ่านช้าๆ ไม่มีไรยากนะครับ

พี่ไม่รู้จะสอน Rhythm ด้วยตัวหนังสือยังไง เอาเป็นว่าเล่นให้ฟังก็แล้วกันเผื่อเกิดไอเดียไปใช้ในวง จะเล่น ในหลายๆ แบบ ให้เข้ากับกลองนะครับ จะได้พอเข้าใจหน้าที่ของเบส เมื่อเล่นกับกลองครับ เล่นคุมจังหว่ะยังไง ตัวอย่างแรก เป็นจังหว่ะ พื้นฐานทั่วไปครับ "ตึก โป๊ะ ตึก ตึก"







การ ดีไซน์การ เล่นริทึ่ม จังหว่ะ ก็แล้วแต่ ท่อนเพลง สไตล์เพลง ท่วงทำนอง ความเหมาะสม คงต้องอาศัยการฟังเพลงเยอะๆครับ หลากหลายแนว แล้วลองหัดเล่น ซ้อมจนเล่นเข้ากะกลอง กะวงโดยเป็นธรรมชาติครับ

การเล่นตามกับกลอง หรือ อุดกระเดื่อง (ทุกลูก) (กระเดื่องคือ กลองเท้าเหยียบ) บางทีก็ไม่จำเป็นต้องทำเสมอไป ครับอยู่ที่ท่อนเพลงด้วย ว่า ขณะนี้เบสไปเล่นในมุมไหนอยู่ ยกตัวอย่างเพลง This Love ครับ เบส ไม่ได้ตาม กระเดื่องเสมอไปครับ บางทีก็ไปเล่นกับ คีย์บอร์ดบ้างครับ ปล่อยให้กลอง เล่นกระเดื่องไปเอง โดยเบสไม่ได้ไปอุดแต่อย่างใด



บทความนี้ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ ไว้เจอกันใหม่

Baal
Thailandbassist.com
ตำราเบสที่เคลื่อนไหวได้ ส่งเสียงได้

ความคิดเห็น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
บทต่อไปละครับ..ผมเฝ้าติดตามอยู่ครับ..
tan กล่าวว่า
ติดตามมาทุกบทเลยครับ ดีมากๆดีกว่าที่ผมไปเรียนอีก
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
สุดยอดคับ