Bass Advance : Chapter 4 : Scale Appoach (Part 1)

สวัสดีครับ เป็นไงกันบ้างเอ่ย กับ Chromatic Appoach คราวก่อน ได้ซ้อมกันบ้างเปล่า มึนกันบ้างเปล่าครับ อย่าพึ่งมึนนะครับ จะมีให้มึนอีกเยอะครับ 555 แต่ได้แต่หวังว่าคงมีคนเข้าใจ แล้วเอาไปใช้ มากกว่า คน งง นะครับ ได้กลิ่นเพียบเลยใช่ไหม๊ กับคราวก่อน การเล่น Chromatic ซาวด์ ประหลาดเพียบ แต่ฟังแล้วไม่แป๊ก ใช่ไหม๊ ถ้า เชื่อมโน๊ตดีดี ไม่แป๊ก หรอก คราวนี้ จะนำ เสนอ การ Appoach โน๊ตในแบบ ต่อไป ซึ่งสำคัญมากๆ ครับ

ขอโทษทีนะครับบทความนี้ช้าไปหน่อยครับ พอดีมีคลื่นชีวิตเข้ามาให้โต้นิดหน่อยครับ แต่ยังไม่ลืม มาให้อะไรดีดีกับทุกคนที่กะลังหัดเล่นเบสครับไปลุยกันเลยกับ

Scale Appoach

คราวก่อนก่อน พูดถึงแต่ตัวโน๊ตหรือขั้นคู่ ที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และ ที่ 7 ซึ่งเป็นคอร์ดโทน(ส่วนประกอบคอร์ด)  หรือตัวโน๊ตในคอร์ด ใช่ไหม๊ คราวนี้จะมา พูดถึงตัวโน๊ตอื่นๆ กันบ้าง ที่เหลือ ก็คือ คู่ 2 คู่ 4 และ คู่ 6 นั่นเอง แต่อ๊ะ ขั้นคู่เหล่านี้ ไม่ใช่ คอร์ด โทน ใช่ไหม๊ นั่นก็หมายความว่า ถ้าคุณเล่นตัวโน๊ตเหล่านี้แล้วไม่มีสิทธิ์ค้างนาน หรือเล่นซ้ำครับ แล้วต้องทำยังไง ไม่ยากครับ คือเมื่อเล่นตัวโน๊ตนอกคอร์ด แล้วต่อไป ก็ให้เล่น โน๊ตที่อยู่ในคอร์ดโทนนั้น (ตัวที่อยู่ใกล้ที่สุด หรือ ไม่เกิน 2 เฟร็ต) เป็นโน๊ตต่อไป เหมือนรีบหลบลงหลุมอ่ะครับหลุมก็ คือ คอร์ดโทน ซึ่งสามารถจะเล่นซ้ำ หรือนานได้ครับ พอพูดถึง ว่า ไม่เกิน 2 เฟร็ตนั่นหมายความว่า การเล่น Chromatic Appoach คราวก่อน ก็เข้าหลักการนี้เช่นกันไปโดยปริยายครับ (Chromatic แค่ เฟร็ตเดียว)

เขียน แผนผังตามนี้เลย

ถ้า เล่น 2  โน๊ตต่อไป ไม่ 1(Root) ก็ 3
เล่น 4  โน๊ตต่อไป  ไม่ 3 ก็ 5
เล่น 6  โน๊ตต่อไป ไม่ 5 ก็ 7  (ถ้า คอร์ด Triad เล่น 6 ให้โดดเข้า 5 เท่านั้น เพราะ คอร์ด Triad ไม่มี 7)


เช่น

คอร์ด Cmaj7 มีโครงสร้างคอร์ด เป็น 1 3 5 7 โน๊ตในคอร์ดตามโครงสร้างคอร์ดนี้ ก็คือ C E G B หรือโด มี ซอล ที


สมมุติ จะเล่น Scale C major กะคอร์ดนี้ ( Scale C major มีโน๊ตทั้งหมด C D E F G A B C)

เท่ากับว่า

ถ้าเล่นโน๊ต  D  กะคอร์ด Cmaj7 โน๊ตต่อไป ไม่เล่น C ก็ E (ตัวที่ใกล้กัน ห้ามเล่นตัวอื่น Octave อื่น)
ถ้าเล่นโน๊ต  F  กะคอร์ด Cmaj7 โน๊ตต่อไป ไม่เล่น E ก็ G (ตัวที่ใกล้กัน ห้ามเล่นตัวอื่น Octave อื่น)
ถ้าเล่นโน๊ต A กะคอร์ด Cmaj7 โน๊ตต่อไป ไม่เล่น G ก็ B (ตัวที่ใกล้กัน ห้ามเล่นตัวอื่น Octave อื่น)

นี่แหล่ะครับ คำว่า Scale Appoach เหมือนหลบลงหลุม เมื่อคุณเล่นตัวโน๊ตนอกคอร์ด ยังไงโน๊ตตัวต่อไป ก็ต้องหลบเข้า คอร์ดโทน ตัวที่ใกล้ที่สุดในระยะไม่เกิน 1เสียง (2เฟร็ต) หลักการลักษณะเดียวกับ Chromatic Appaoch ครับ

สรุปแล้ว คอร์ดโทน (Arpeggio) ของ ทุกคอร์ด ทุกตระกูลที่คุณเจอในเพลงๆนั้น ต้องแม่น จริง ๆจึงจะมีหลุมให้คุณหลบ นั่นคือคุณต้อง ซ้อม Arpeggio หรือ Chord Tone ให้เยอะ ๆครับ แล้วค่อยตามมาด้วย Scale

ข้อสังเกต (Scale Appoach บางตัวก็เป็น Chromatic Appoach ถ้าห่างกะตัวโน๊ตต่อไปแค่ 1 เฟร็ต)

ต่อไปนี้ จะยกตัวอย่างขึ้น โดย พี่จะ เล่น คู่ 2ตรง คู่4ตรง และคู่6ตรง กับเฉพาะ คอร์ด ตระกูล major major7 minor minor7 dominanth7 หรือ 7 เฉยๆ ครับ อย่างเพิ่งเอา 2ตรง 4 ตรง 6 ตรง ไปใช้กับคอร์ดอื่นนอกจากนี้ นะครับ ตอนท้ายจะสรุปให้เห็นวิธีการใช้ Scale จริง ๆ ถ้า เข้าใจแล้ว อธิบาย Scale อื่น ๆ Chord อื่นๆ ก็จะง่ายครับ ณ ตอนนี้ จะขอพูดถึงแค่ คอร์ด ตระกูลข้างต้น โอเคนะครับ ไปดูกันเลย

จะเล่น Scale Appaoch บน Root to Root ก่อนครับ  ได้ ง่ายแก่การเข้าใจ ด้วย

สูตร  1 - Scale - Chordtone - 1

ตัวอย่างที่ 1 เล่น 2 ตรง กับ Cmaj7 Am7 Dm7 G7
จาก 1 - Scale - Chordtone - 1 ก็แตกได้เป็น
1 - 2 - 1 - 1
1 - 2 - 3 - 1




ตัวอย่างที่ 2 เล่น 4 ตรง Cmaj7 Am7 Dm7 G7
จาก 1 - Scale - Chordtone - 1 ก็แตกได้เป็น
1 - 4 - 3 - 1
1 - 4 - 5 - 1



ตัวอย่างที่ 3 เล่น 6 ตรง Cmaj7 Am7 Dm7 G7
จาก 1 - Scale - Chordtone - 1 ก็แตกได้เป็น
1 - 6 - 5 - 1
1 - 6 - 7 - 1 (อย่าใช้สูตรนี้กะคอร์ด Triad เพราะ Triad ไม่มี 7)



และก็เหมือนเดิมครับ สามารถพลิกกลับตัวโน๊ตต่ำเป็นสูงสูงเป็นต่ำได้ (แต่อย่าให้โน๊ตห่างกันกระโดดเกินกว่า 1 Octave) ขอแค่ให้รู้ว่า คอร์ดโทนอยู่ที่ไหนก็พอครับ ถ้าคุณซ้อม คอร์ดโทนในตำแหน่งอื่นๆ มายิ่งสร้างความหลากหลายของทางเดินเบส มากมาย แล้วยิ่งนำไปรวมกับ หลายๆ วิธีที่สอนไปก่อนหน้านี่ก็จะเยอะมาก คนเบสที่ว่าเก่งๆ ก็คือ เล่นแบบที่คนฟังจับไม่ได้ ว่าเล่น pattern อะไรครับ สรุปว่า ต้องซ้อม แต่หล่ะสูตรให้แม่นๆครับ ถึงเวลาก็ดึงเอามาใช้โดยอัตโนมัติได้ครับ

ต่อไป มาวิเคราะห์ สิ่งที่เล่นไปกับคอร์ด ในแต่หล่ะช่วงครับ

คอร์ด Cmaj7 มี โครงสร้าง 1 3 5 7 ที่เราเล่นเพิ่มไป ก็ 2 4 6 รวมกันเป็น 1 2 3 4 5 6 7 (+8) เขียนเป็นตัวโน๊ตคือ C D E F G A B C นั่นคือ สเกล C Major นั่นเอง C Major มีอีกชื่อหนึ่งคือ C Ionian (Mode)

คอร์ด Am7 มี โครงสร้าง 1 b3 5 b7 เราเล่นเพิ่มเข้าไป เป็น 2 4 6 รวมกันเป็น 1 2 b3 4 5 6 b7 (+8) ให้เรียก Scale ที่มีโครงสร้างนี้ว่า Dorian (Mode) Scale เขียนเป็นตัวโน๊ต ก็คือ A B C D E F# G A ให้เรียก Scale นี้ว่า A Dorian (Root เป็น A)

คอร์ด Dm7 มี โครงสร้าง 1 b3 5 b7 เราเล่นเพิ่มเข้าไป เป็น 2 4 6 รวมกันเป็น 1 2 b3 4 5 6 b7 (+8) ให้เรียก Scale ที่มีโครงสร้างนี้ว่า Dorian (Mode) Scale เขียนเป็นตัวโน๊ต ก็คือ D E F G A B C D ให้เรียก Scale นี้ว่า D Dorian (Root เป็น D)

คอร์ด G7  มี โครงสร้าง 1 3 5 b7 เราเล่นเพิ่มเข้าไป เป็น 2 4 6 รวมกันเป็น 1 2 3 4 5 6 b7 (+8) ให้เรียก Scale ที่มีโครงสร้างนี้ว่า Mixolydian (Mode) Scale เขียนเป็นตัวโน๊ต ก็คือ G A B C D E F G ให้เรียก Scale นี้ว่า G Mixolydian (Root เป็น G)

อ่านดีดีนะครับ อย่าพึ่งงง ครับ พี่กะลังสอน Scale +Mode ไปพร้อมๆกันครับ  ก่อนอื่นต้อง จำ โครงสร้างของ Scale (ที่เป็นตัวเลขขั้นคู่) ให้ได้ครับ อย่าพึ่งสนใจตัวโน๊ตที่อาจเกิดขึ้นใหม่ๆ หรือ ง่าย ๆ จำเป็นรูปนิ้วก็ได้ครับ ตามนี้เลย ใน วีดีโอ



ข้อสังเกต ดูตัวโน๊ตใน Scale สิครับ ตัวโน๊ต ของ Scale C major ก็เหมือนกับ D Dorian และ ก็เหมือน กับ G Mixolydian นั่นคือประกอบไปด้วย C D E F G A B C แต่แค่เริ่มเล่นในที่ๆต่างกันเท่านั้น C ก็เริ่ม C, D ก็เริ่ม D,G ก็เริ่ม G นั่นคือ เท่ากับ เราได้ 7 โครงสร้าง Scale เกิดขึ้น จาก Scale เดียว ก็แค่เริ่มไล่ Scale ในที่ที่ต่างกันนั่นเอง เค้าจึงเรียกว่า Mode ครับ

วนกลับไป ที่ ให้เล่น คู่ 2ตรง 4ตรง และ6ตรง เป็นตัว Appoach โน๊ต ที่ สอน แบบ นี้ก่อน ก็เพื่อให้ง่ายแก่ความเข้าใจ โดยใช้ขั้นคู่ เป็นหลักการเบื้องต้น แต่ที่สำคัญคือ อย่า พึ่งเอาไปใช้กับคอร์ดตระกูลอื่นๆนะครับ อาจผิดได้ครับ ไว้คราวหน้าจะอธิบายให้กระจ่างเลยครับ แล้วต่อไป ก็จะเข้าใจเลยว่าวิธีเอา Scale ไปใช้ในคอร์ดทำยังไง  สรุปอีกทีคือ แต่หล่ะคอร์ด แต่หล่ะตระกูลคอร์ด ก็มี Scale ที่ใช้เฉพาะกับมัน อันที่ผิดมหันต์คือ จะเอา Scale Major มาเล่นบนคอร์ด Minor ไม่ได้เด็ดขาดครับ แล้วเอา Scale minor ไปเล่น บนคอร์ด Major ก็ถือว่า โคตรผิดอ่ะครับ

บทความนี้สอนเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ Scale Appoach ยังมีอีกหลาย Part ครับ อันนี้ ขนาดแค่สูตร 1 -Scale-Chordtone-1 เองครับ ยังมีอีกครับ แล้วอย่าลืมเล่นคีย์อื่นด้วยนะครับ คีย์อื่นๆ หัวคอร์ด หัวสเกลมันก็จะเปลี่ยนไปครับ (สอน Transpose ไปแล้วนะครับ) แต่ถ้าเรารู้ Root รู้ ทางนิ้ว ก็พอเล่นได้แล้วครับอ่ะ

และก็ฝากการบ้านไว้ให้คิดเล่นๆครับ ลองหาตัวโน๊ตจากสูตร  
1-Scale-Chordtone-Scale และ 1-Scale-Chordtone-Chro ดูครับ คราวหน้ามาเฉลยกันครับ

Baal
Thailandbassist.com ตำราเบส ที่เคลื่อนไหวและส่งเสียงได้

ความคิดเห็น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ได้ความรู้มากๆครับบ อยากให้ทำต่อไปเรื่อยๆเลยครับ
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
จะติดตามอยู่เรื่อยๆนะครับบ

ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆครับบ
rattanapornnursinghome กล่าวว่า
สวัสดีค่ะ

แวะมาทักทายนะคะ

http://rattanapornnursinghome.blogspot.com
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
พี่ครับผมชอบเบสfunkงะครับ ต้องมีพื้นฐานอะไรเเละอะไรที่ควรจะรู้เป็นพิเศษมั้งครับ
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
เทคนิคการสอนแบบนี้ต้องเป็นลูกศิษย์ อ.อ็อดเบสเพลสแน่เลย
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
มี2คำถามครับ
"คอร์ด Am7 มี โครงสร้าง 1 b3 5 b7 เราเล่นเพิ่มเข้าไป เป็น 2 4 6 รวมกันเป็น 1 2 b3 4 5 6 b7 (+8) ให้เรียก Scale ที่มีโครงสร้างนี้ว่า Dorian (Mode) Scale เขียนเป็นตัวโน๊ต ก็คือ A B C D E F# G A ให้เรียก Scale นี้ว่า A Dorian (Root เป็น A) "

ทำไมตัวที่6 ถึงติดชาร์ปเหรอครับ


"คอร์ด Dm7 มี โครงสร้าง 1 b3 5 b7 เราเล่นเพิ่มเข้าไป เป็น 2 4 6 รวมกันเป็น 1 2 b3 4 5 6 b7 (+8) ให้เรียก Scale ที่มีโครงสร้างนี้ว่า Dorian (Mode) Scale เขียนเป็นตัวโน๊ต ก็คือ D E F G A B C D ให้เรียก Scale นี้ว่า D Dorian (Root เป็น D)"

แล้วทั้ง โครงสร้าง dorian มันต่างกับ minor ธรรมดายังไงเหรอครับ

ขอบคุณมากครับ
Baal กล่าวว่า
เพราะ F# เป็น คู่ 6 ของ A
โครงสร้างสเกล Dorian เป็น 6 ตรง แต่ natural minor เป็น b6 นอกนั้นเหมือนกันหมด